Category Archives: ทักษะพัฒนาการ

4 เทคนิคทำอย่างไรให้ลูกอยู่นิ่ง

4 เทคนิคทำอย่างไรให้ลูกอยู่นิ่ง

การห้ามเด็กเล็กไม่ให้ซุกซนคงทำไม่ได้ (และไม่ควรทำอย่างยิ่ง) เพราะธรรมชาติของเด็กมักจะอยากรู้ อยากเห็น อยากลองทำ (ในสิ่งที่ผู้ใหญ่ห้าม ) สนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว เด็กบางคนซนจนได้เรื่อง อยู่ในห้องเรียนก็ก่อกวนเพื่อน ส่งเสียงดัง บางคนเล่นแรงกับเพื่อน กลายเป็นเด็กมีปัญหาการเข้าสังคม ไม่มีเพื่อนอยากเล่นด้วย  ถ้าอยากให้ลูกอยู่นิ่ง เชื่อฟังคำสั่ง คุณพ่อคุณแม่ลองทำตามวิธีเหล่านี้ได้ 

1. กำหนดเวลาเล่นให้ชัดเจน ว่าเวลาไหนเล่นได้ เวลาไหนต้องสำรวม เช่น อยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ หรืออยู่นอกบ้าน ถ้าลูกทำได้ตามข้อตกลง พ่อแม่ควรพูดชมเชยให้กำลังใจ  “วันนี้ลูกทำตัวน่ารัก แม่ภูมิใจในตัวหนูมากนะจ๊ะ”  โอบกอด  ปรบมือ ชูนิ้วโป้ง (ลูกเยี่ยมมาก) เด็กจะรับรู้ได้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้องดีแล้ว

2. ตั้งกติกาถ้าทำผิดจะเกิดอะไรขึ้น ตักเตือนก่อนในครั้งแรก หากลูกยังทำผิดซ้ำอาจลงโทษด้วยการงดกิจกรรมที่ลูกชอบ เช่น ดูการ์ตูน  เล่นของเล่น

3. ฝึกสมาธิผ่านการเล่น เช่น ต่อบล็อกไม้ ปริศนาอักษรไขว้ เล่นเกมจับผิดภาพ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ฝึกสมาธิให้จดจ่อ หรือหากิจกรรมกลางแจ้งที่ได้ออกแรง เช่น วิ่ง ปั่นจักรยานกระโดดเชือก เป็นต้น

4. พูดคุยด้วยเหตุผลกับลูกอย่างใจเย็น ไม่ใช้อารมณ์หรือลงโทษรุนแรง เมื่อลูกซนหรือไม่อยู่นิ่ง พยายามชี้ชวนอธิบายอย่างง่ายๆ  ถึงผลเสียที่ลูกเล่นซนว่าจะเกิดอะไรบ้าง ด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน

ความซุกซนเป็นธรรมชาติของเด็กที่อยากเรียนรู้  คุณพ่อคุณแม่อาจยืดหยุ่นบ้างตามสมควร แต่ก็ไม่ควรห้ามทุกเรื่อง เพราะอาจทำให้เด็กสูญเสียความกระตือรือร้นขาดจินตนาการ ขาดความมั่นใจได้

—————————————————————–

ปิงปิงไม่ซนอีกแล้ว

อ่านบทความดีๆ ที่ช่วยในการเลี้ยงลูก ได้ทางเว็บไซต์ www.passeducation.com

(ขอบคุณภาพประกอบจาก freepik.com)

4 เทคนิคสอนธรรมะให้เด็ก

4 เทคนิคสอนธรรมะให้เด็ก

“ธรรมะ” อาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับเด็กๆ แค่พูดถึงการเข้าวัด ทำบุญ สวดมนต์ ก็ฟังดูน่าเบื่อแล้ว เด็กส่วนใหญ่ไม่ได้อยากเข้าวัดเพราะอยากสงบจิตใจหรืออยากได้ความรู้เหมือนผู้ใหญ่ การจะปลูกฝังให้เด็กใกล้ชิดกับธรรมะ พ่อแม่ควรหาเทคนิคดีๆ มาใช้กันค่ะ

1. สอนด้วยการกระทำของพ่อแม่ เช่น พาลูกสวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน พาตักบาตรเมื่อมีโอกาส ชวนฟังซีดีธรรมะ เพลงธรรมะระหว่างนั่งรถ เมื่อเด็กได้ยินได้ฟังทุกวันจะซึมซับไปเอง และไม่รู้สึกว่าถูกยัดเยียด

2. ใช้หนังสือเป็นตัวช่วย โดยสร้างบรรยากาศที่บ้านให้มีหนังสือธรรมะ การ์ตูนธรรมะเพราะเด็กๆ ชอบการ์ตูน ไม่ต้องสนใจเรื่องหลักการหรือศัพท์เฉพาะที่ยากเกินไป พ่อแม่เล่านิทานชาดกด้วยภาษาง่ายๆ ก่อนนอน เช่น ทศชาติชาดก

3. สอนศีลห้า  ผ่านกิจวัตรประจำวัน เช่น สอนลูกไม่ให้รังแกสัตว์  ไม่หยิบฉวยของคนอื่น  ไม่พูดโกหก  รู้จักยับยั้งชั่งใจ มีสติ รู้จักแบ่งปัน มีเมตตาต่อผู้อื่น โดยยกตัวอย่างสถานการณ์จริง หรือข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เด็กเชื่อมโยงหลักธรรมได้ โดยมีพ่อแม่เป็นต้นแบบที่ดี

4. ไม่บังคับให้ลูกสนใจธรรมะ การสอนธรรมะให้เด็กเล็กไม่ได้หมายถึงการให้นั่งสมาธิ เพราะเด็กยังไม่เข้าใจ เดี๋ยวจะกลายเป็นการบังคับและเด็กเกิดการต่อต้าน

ธรรมะคือสิ่งที่ปลูกฝังได้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก พ่อแม่ที่คิดดี ย่อมถ่ายทอดสิ่งดีๆ ให้ลูก เมื่อลูกทำตัวดี พ่อแม่ควรชื่นชมเพื่อให้เขาเกิดความภูมิใจ เมื่อเด็กๆ มีธรรมะเป็นเกราะป้องกัน เขาจะรู้จักการวางตัวที่เหมาะสม ไม่ฟุ้งเฟ้อ และรับมือกับสิ่งยั่วยุได้ในอนาคต

 

4 เทคนิดเตรียมลูกให้พร้อมเมื่อรถติดสงกรานต์

4 เทคนิดเตรียมลูกให้พร้อมเมื่อรถติดสงกรานต์

     วันหยุดยาวช่วงสงกรานต์ หลายครอบครัวเลือกเดินทางพักผ่อนท่องเที่ยว หรือพาเด็ก ๆ กลับไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ที่ต่างจังหวัด ผู้คนส่วนใหญ่ออกเดินทาง การจราจรจึงติดขัดเช่นกัน พ่อแม่จึงควรเตรียมความพร้อมให้ลูก ๆ ดังนี้

1. Car Seat ไม่มีไม่ได้ :

นอกจากจะช่วยลดความรุนแรง หากเกิดอุบัติเหตุแล้ว ยังช่วยบังคับศีรษะให้หันไปทางด้านหน้ารถ ลดความเสี่ยงของการเมารถ ซึ่งมักเกิดจากการศีรษะเคลื่อนไหวมากเกินไปจนเกิดอาการเวียนหัว คลื่นไส้ขณะรถแล่น แล้วยังช่วยลดแรงกระแทกของรถทำให้ลูกนอนสบายขึ้นด้วย

2. ของกินเล็กๆ น้อยๆ มีไว้อุ่นใจ :

การจราจรที่ติดขัดอาจทำให้เด็ก ๆ หิวจนงอแง จึงควรมีของกินที่เหมาะสำหรับเด็ก ๆ พกง่ายและไม่เสียง่ายติดรถไว้ เช่น นม กล้วย ขนมปัง

3. ถุงปัสสาวะพกพา/กระโถน :

ไม่ใช่ทุกเส้นทางที่จะมีห้องน้ำปั๊มน้ำมันให้เด็ก ๆ ได้ขับถ่าย การพกถุงปัสสาวะพกพาหรือกระโถนไว้ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการกลั้นฉี่กลั้นอึ

4. ศึกษาเส้นทางก่อนไป :

หลีกเลี่ยงเส้นทางหรือเวลาที่การจราจรติดขัด ข้อนี้สำคัญมาก เพราะจะทำให้สามารถกะเวลาคร่าว ๆ ได้ว่าบริเวณใดมีร้านอาหารหรือห้องน้ำ และควรเตรียมลูกทานอาหารตอนไหน ขับถ่ายเมื่อไร

*เตรียมรับมือสถานการณ์รถติดในช่วงสงกรานต์ให้พร้อม เดินทางปลอดภัย ไปสนุก กลับสุขใจกันนะคะ


เก้าอี้ของป๋องแป๋ง

นิทานภาพคำกลอน เตรียมความพร้อม สร้างวินัยให้ลูกในการใช้คาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยขณะนั่งรถ

3 วิธีตำหนิลูกอย่างสร้างสรรค์

3 วิธีตำหนิลูกอย่างสร้างสรรค์

อย่าลืมว่าการที่เราตำหนิก็เพื่อให้ลูกเกิดการเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง และไม่ทำผิดซ้ำอีก และวิธีตำหนิลูกอย่างสร้างสรรค์ก็ทำได้ไม่ยากเลยค่ะ

1. ถ้าลูกทำผิดให้ตำหนิพฤติกรรมที่เขาทำ แต่ไม่ตำหนิที่ตัวตนของเขา เช่น ลูกลอกการบ้านเพื่อน พูดคำหยาบ แกล้งเพื่อน หรือขโมยของเพื่อน แม่ไม่ควรพูดว่า “ลูกแย่มากที่ทำตัวแบบนี้” แต่ควรพูดว่า “แม่เสียใจที่ลูกทำแบบนี้กับเพื่อน และเพื่อนก็คงเสียใจเช่นกัน” เพราะการตำหนิที่พฤติกรรม แสดงให้เห็นว่า เราไม่ชอบ ไม่ยอมรับในพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่น่ารักของเขา ไม่ได้แปลว่า เราไม่ยอมรับในตัวตนของเขาหรือไม่รักเขา

2. ถ้าลูกทำผิดให้โอกาสเขาได้อธิบายเหตุผลให้เราฟังก่อน  อย่าเพิ่งต่อว่าที่เขาโกหก (แม้เราจะรู้ว่าเขากำลังโกหกอยู่ก็ตาม) เพราะหากทำเช่นนี้เท่ากับเราไม่เปิดใจรับฟังเขา  ลูกจะคิดว่าพ่อแม่ไม่มีเหตุผล และในครั้งต่อๆ ไปก็จะไม่อยากอธิบายหรือเล่าอะไรให้เราฟังอีก  อาจส่งผลให้เด็กเกิดการต่อต้านมากขึ้นค่ะ

3. ไม่ตำหนิหรือเปรียบเทียบลูกต่อหน้าคนอื่น  เพราะเด็กจะรู้สึกเสียหน้าและอาย  เช่น เมื่อลูกสอบตก ไม่ควรพูดว่า “เรื่องแค่นี้ ทำไมลูกทำไม่ได้ ทีเพื่อนคนอื่นยังทำได้เลย” “ทำไมลูกโง่อย่างนี้” ฯลฯ คำพูดเช่นนี้จะยิ่งทำให้ลูกขาดความเชื่อมั่นและนับถือตนเอง  ขณะเดียวกันหากลูกทำดีก็ควรชื่นชมและให้กำลังใจ ลูกจะได้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า

คำพูดอ่อนโยนแสดงความห่วงใยของพ่อแม่ที่อยากให้ลูกเป็นเด็กดี เด็กน่ารักมีส่วนสำคัญต่อพฤติกรรมของเด็กๆ มากค่ะ พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็นว่าวิธีแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล ใช้คำพูดที่สร้างสรรค์พูดคุยกันย่อมดีกว่าการใช้อารมณ์เกรี้ยวกราด  เด็กจะเกิดการเลียนแบบและนำไปใช้กับผู้อื่น  เป็นพฤติกรรมดีๆ ที่จะติดตัวเขาไปจนโตค่ะ

————————————————————–

ช้างน้อยไม่อยากเป็นช้าง นิทานก่อนนอน ที่นายแพทย์ประเสริฐแนะนำให้อ่าน ปลูกฝังความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูก สอนให้รู้จักพึงพอใจในสิ่งที่ตนเป็น พัฒนาทักษะ EF หนังสือสำหรับเด็ก 4-6 ปี

สร้างวินัยง่ายๆ ให้ลูกวัย 3-5 ขวบ

สร้างวินัยง่ายๆ ให้ลูกวัย 3-5 ขวบ

     หลายคนคิดว่าการสร้างวินัยให้ลูกวัยอนุบาลเป็นเรื่องยุ่งยาก ต้องเข้มงวดกวดขันเด็กๆ จึงจะทำตาม ความจริงเราเริ่มจากกิจวัตรประจำวันที่เขาต้องทำทุกวันนี่แหละง่ายที่สุด เด็กจะซึมซับได้ง่ายและดีกว่าไปเริ่มต้นเมื่อโตแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ เราต้องเป็นต้นแบบและทำให้ลูกเห็นก่อนเสมอ มีอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ

1. ฝึกตื่นเช้าและเก็บที่นอน ช่วงเริ่มต้นพ่อแม่อาจทำให้ลูกดูก่อนและชวนเขาทำตาม โดยเริ่มจากพับผ้าห่มและจัดที่นอนตัวเองให้เรียบร้อย ชี้ชวนให้ลูกเห็นว่าเมื่อเก็บแล้วก็จะดูน่ามอง เป็นระเบียบกว่าวางเกะกะไว้ และอย่าลืมให้คำชมลูกทุกครั้งเมื่อทำได้นะคะ ชวนทำทุกวันลูกจะค่อยๆ ทำได้ดีขึ้น 

2. ฝึกวินัยในการรับประทาน เมื่อรับประทานเสร็จชวนลูกเก็บถามชาม ทำความสะอาดโต๊ะอาหารนอกจากนั้นยังสามารถสอนเกี่ยวกับมารยาทในการรับประทาน ไม่คุยขณะมีอาหารในปาก เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน  

3. ฝึกวินัยในการเล่น สอนให้ลูกรู้จักเก็บของเล่นเอง โดยพ่อแม่พาลูกทำตามก่อนในครั้งแรกๆ แบ่งงานเป็นลำดับให้ลูกจดจำง่ายๆ เช่น เก็บตุ๊กตาลงกล่องก่อน แล้วเก็บรถของเล่น ทำไปเรื่อยๆ จนเสร็จ จะทำให้เด็ก รู้สึกว่าเป็นงานที่ทำได้ไม่ยาก

4. ฝึกนอนให้ตรงเวลา เด็กเล็กควรเข้านอนแต่หัวค่ำเพื่อจะได้ตื่นแต่เช้า ก่อนเข้านอนเป็นช่วงเวลาดีที่พ่อแม่ควรใช้ทำกิจกรรมสานสัมพันธ์ใกล้ชิดลูก เช่น อ่านนิทานให้ฟัง โอบกอดพูดคุยกันทำให้ลูกมีความสุข จะทำให้เขารอคอยช่วงเวลานี้และอยากเข้านอนตรงเวลาทุกวัน 

การสร้างระเบียบวินัยตั้งแต่เล็กจะช่วยทำให้ลูกเรียนรู้การมีวินัยในสังคมได้ง่ายเมื่อโตขึ้น 

——————————————————–

ปิงปิงชุด ไม่เอา 

นิทานภาพคำกลอนชุดนี้ ฝึกลูกให้มีวินัย รู้หน้าที่ตนเอง พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล แก้ปัญหาลูกดื้อ ห่วงเล่น ไม่ชอบสระผม เอาแต่ใจ ฉี่รดที่นอน

ปิงปิงชุด Can Do” 

นิทานเด็ก ปิงปิง ชุด Can Do ฝึกลูกสื่อสารด้วยคำพูดพื้นฐานง่าย ๆ “สวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ ไม่เป็นไร” เป็นเด็กน่ารัก มีมารยาทดี หนังสือสำหรับเด็ก 0-6 ปี

เก็บเอง เก่งจัง” 

หนังสือภาพพร้อมเพลง ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย ฝึกให้ลูกรู้จักเก็บของเล่นเองหลังเล่นเสร็จ ผ่านคำคล้องจองที่สามารถร้องเป็นเพลงแสนสนุกและช่วยเสริมทักษะทางภาษา หนังสือเด็ก 0-6 ปี

3 กิจกรรมทำให้ลูกนอนหลับฝันดี

3 กิจกรรมทำให้ลูกนอนหลับฝันดี

วิธีแก้ปัญหาให้ลูกเข้านอนเป็นเวลาและหลับฝันดีนั้นทำได้ไม่ยากเลยค่ะ1.จัดสภาพแวดล้อมให้สะอาด สบายตา ดูน่ารัก สวยงาม เตรียมพร้อมที่จะนอน เปิดดนตรีคลอเบาๆ ให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย มีตุ๊กตาตัวโปรดวางอยู่ข้างๆ อาจให้ลูกพูดคุยและกอดตุ๊กตานอน เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีเพื่อนจะได้นอนง่ายขึ้น

2. อ่านนิทานด้วยกัน  ให้ลูกเป็นคนเลือกแล้วคุณพ่อคุณแม่อ่านให้ฟัง อย่าลืมตกลงเรื่องเวลากับลูกว่าจะฟังนิทานได้กี่เรื่อง และต้องเข้านอนตอนไหน ควรให้ลูกเข้านอนไม่เกิน 2 ทุ่ม เพราะถ้านอนดึก ลูกจะเหนื่อย ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนและคอร์ติซอลออกมาทำให้หลับยาก ตื่นกลางดึกบ่อยและตื่นเช้าเกินไป จนทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ

3. ชวนลูกคุยสร้างความผูกพันกับลูก ก่อนนอนชวนลูกคุยเล่นสบายๆ ถามลูกว่าวันนี้ทำอะไรมาบ้าง ชอบหรือไม่ชอบสนุกหรือไม่อย่างไร ฯลฯ  จากนั้นลองเล่าถึงสิ่งที่พ่อแม่พบเจอให้ลูกฟังบ้าง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขณะพูดคุยควรโอบกอดสัมผัสลูกด้วยความรักไปด้วย

กิจกรรมก่อนนอนควรเป็นกิจกรรมที่สงบ หลีกเลี่ยงพูดถึงเรื่องร้ายๆ เช่น อุบัติเหตุ นินทาว่าร้ายคนอื่น ไม่ควรให้ลูกดูโทรทัศน์หรือฟังเรื่องน่ากลัว รวมถึงเรื่องกังวลใจ ลูกจะได้ไม่เก็บไปคิดและนอนฝันร้าย ถ้าจะให้ดีควรให้ดื่มนมอุ่น สักแก้ว จะช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและหลับสบายขึ้น

   นิทาน ป๋องแป๋งไม่ยอมนอน เป็นนิทานที่ ฝึกลูกให้รู้จักเตรียมพร้อมเข้านอนตรงเวลา ผ่านเรื่องราวน่ารักของ “ป๋องแป๋ง” ตัวละครสุดฮิตที่เด็กๆ ชื่นชอบ เช่นเข้าห้องน้ำก่อนนอน ฟังนิทานก่อนนอน พร้อมวิธีฝึกลูกให้เข้านอนง่ายๆ ไม่งอแงในท้ายเล่ม เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนรู้ของเด็กเล็ก

   ป๋องแป๋งไม่ยอมนอน เดี๋ยวปวดฉี่ อยากกอดตุ๊กตาหมี ไม่ยอมให้ปิดไฟ จนในที่สุดเอานิทานมาให้พ่ออ่านให้ฟัง ป๋องแป๋งฟังนิทานที่พ่ออ่าน ก็ค่อย ๆ เคลิ้มจนหลับไป


อ่านบทความดีๆ ที่ช่วยในการเลี้ยงลูก ได้ทางเว็บไซต์ www.passeducation.com

ครบรอบ 20 ปี พาส มอบหนังสือ ในโครงการ “หนึ่งอ่านล้านตื่น”

ครบรอบ 20 ปี พาส มอบหนังสือ  ในโครงการ "หนึ่งอ่านล้านตื่น"

 ครบรอบ 20 ปี พาส มอบหนังสือ ในโครงการ

“หนึ่งอ่านล้านตื่น”

เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี บริษัท พาส เอ็ดดูเคชั่น จำกัด  “คุณสุชาดา สหัสกุล” กรรมการผู้จัดการบริษัท ได้มอบหนังสือมูลค่า 5,000 บาท ให้กับบ้านหนังสือและศูนย์เด็กเล็ก ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 20 แห่ง รวมทั้งสิ้น 100,000 บาท ผ่าน “โครงการ 1 อ่านล้านตื่น” ของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ รศ. ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ให้เกียรติเป็นผู้มอบ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ ฮอลล์ 5-7

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดี ๆ ที่ทางบริษัทฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งในการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของเด็กไทย เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สัมคมอุดมปัญญาต่อไปในอนาคต

#หนึ่งอ่านล้านตื่น #พาสครบรอบ20ปี #สัปดาห์หนังสือ66 #BKKIBF2023 #งานหนังสือ66

งานหนังสือ หนึ่งอ่านล้านตื่น หนังสือ บริจาค สัปดาห์หนังสือ BKKIBF2023 งานหนังสือ66 พาสครบรอบ20ปี

8 วิธีให้ลูกยอมใส่แมสก์

ในช่วงที่เราทุกคนต้องเผชิญหน้ากับเชื้อไวรัสตัวร้าย อย่างเจ้าโควิด-19 คุณพ่อคุณแม่ต่างกังวลว่าจะดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัยจากไวรัส ทั้งหน้ากากอนามัย เฟซชิลด์ เบบี้ไวพ์ เจลแอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์ แม่เตรียมไว้หมดครบทุกไอเท็ม แต่ลูกน้อยสุดที่รักกลับไม่ยอมให้ความร่วมมือ ลูกไม่ยอมใส่หน้ากาก ซะอย่างนั้น พ่อแม่จะทำยังไงดี?   เด็กวัยไหนที่ควรใส่หน้ากาก? คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า ไม่ใช่เด็กทุกคน ทุกวัยที่ควรใส่หน้ากาก ข้อมูลจากโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ระบุว่า ทารกเแรกเกิด ถึง 1 ปีไม่ควรสวมหน้ากาก เพราะยังมีระบบการหายใจที่ไม่แข็งแรงพอ อาจเกิดการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นอันตรายต่อระบบประสาทของทารกได้ หากต้องพาลูกออกนอกบ้าน แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกแนบอก หรือใส่ในรถเข็นที่มีผ้าคลุมปิดแทน ลูกจะปลอดภัยและยังคงหายใจได้อย่างสบาย เด็กวัย 1-2 ปีหากจำเป็นต้องใส่หน้ากาก ควรใส่ด้วยความระมัดระวัง และใส่ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด เด็กวัย 2 ปี ขึ้นไปสามารถใส่หน้ากากได้แล้ว ยกเว้นเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง หรือระบบทางเดินหายใจ ไม่ควรใส่หน้ากาก เด็กที่มีโรคประจำตัวที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษโรคทางระบบประสาทหรือระบบทางเดินหายใจบกพร่องรุนแรง ไมสามารถใส่หน้ากากได้ ควรเคร่งครัดเรื่องการรักษาระยะห่าง หากลูกน้อยของคุณแม่อยู่ในวัย 2 ขวบขึ้นไปที่ควรสวมหน้ากากแล้ว คุณแม่จำเป็นต้องฝึกให้ลูกใส่หน้ากากให้เคยชินทุกครั้งเมื่อต้องออกนอกบ้าน แต่ปัญหาคือ ลูกไม่ยอมใส่หน้ากาก บ้านไหนที่กำลังประสบปัญหานี้ ใช้สารพัดวิธีในการหลอกล่อก็แล้ว แต่ไม่สำเร็จ ลูกดึงออกตลอด เพราะอึดอัด รำคาญ บางบ้านจึงให้ลูกใส่ Face Shield แทน ลูกไม่ยอมใส่หน้ากาก ใส่ Face Shield แทนได้ไหม? ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำว่า การใส่ Face Shield แทนหน้ากากอนามัย ยังไม่สมควร เพราะยังมีช่องเข้าสู่จมูก ปาก และหน้าตา ยิ่ง Face Shield แบบที่เป็นพลาสติกบางใส อ่อนไปอ่อนมา จะยิ่งลดความปลอดภัยลงอีก ดังนั้น การใส่เฟซชิลด์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้ช่วยป้องกันโรค ทั้งยังสามารถทำให้ลูกน้อยรับเชื้อและแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ เฟซชิลด์ไม่สามารถทดแทนหน้ากากอนามัยได้ แม้จะใส่เฟซชิลด์ก็ยังจำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัยอยู่ดี   8 วิธีให้ลูกยอมใส่แมสก์ 1. ใส่เป็นเพื่อนลูกเด็กเล็กชอบเลียนแบบพฤติกรรมพ่อแม่ เมื่อลูกเห็นพ่อแม่ใส่ ลูกจะอยากใส่ด้วย ลองเลือกแมสก์ลายเหมือนกัน ใส่เป็นทีมพ่อแม่ลูกดูนะคะ 2. ให้ตุ๊กตาใส่ด้วยบางทีลูกอาจอยากมีเพื่อนใส่หน้ากากอนามัย ตุ๊กตาตัวโปรดก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่น่าสนใจ หรือชี้ให้ลูกดูเพื่อนคนอื่นๆ ก็ใส่หน้ากากกัน ลูกเห็นเพื่อนใส่ก็จะอยากใส่ด้วย 3. เลือกลายการ์ตูนที่ลูกชอบก่อนคุณแม่จะสั่งซื้อหน้ากาก ลองให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกลายที่เขาชอบ จากเดิมที่ไม่ยอมใส่ พอเจอลายที่ชอบเขาก็อาจยอมใส่ไม่ยาก 4. มีคำชม มีรางวัลเป็นการเสริมแรงทางบวกเมื่อลูกยอมใส่หน้ากากอนามัย ลองให้ลูกส่องกระจก แล้วชมว่าใส่แล้วน่ารักจังเลย ลูกจะได้ดีใจและอยากใส่อีกเพราะอยากให้คุณแม่ชม 5. อธิบายเหตุผลที่ต้องใส่หน้ากากหากลูกอายุน้อยกว่า 3 ปีพอจะเข้าใจเหตุผลง่ายๆ ได้แล้ว คุณแม่ลองคุยกับลูกว่า เราต้องใส่หน้ากากอนามัยเราถึงจะปลอดภัย 6. ให้ดูแอนิเมชั่นที่เป็นตัวไวรัสลูกอายุ 3 ปีขึ้นไป มีความเข้าใจเรื่องเชื้อโรคมากขึ้น สามารถอธิบายได้ว่า เชื้อโรคทำให้เราเจ็บป่วย เมื่อลูกเห็นภาพก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น และยอมใส่หน้ากากเพื่อป้องกันเชื้อโรค 7. ทำข้อตกลงถ้าไม่ใส่ไม่ออกจากบ้าน ข้อนี้คุณแม่ต้องใจแข็ง ลูกอาจไม่พอใจ ร้องโวยวาย แต่ถ้าคุณแม่หนักแน่นลูกจะเรียนรู้เองว่า เป็นสิ่งที่ต้องทำ ถึงร้องไปก็ไม่ได้อยู่ดี (บางบ้านใช้ทริค บอกลูกว่า ถ้าไม่ใส่เขาไม่ให้เข้าร้านนะ วิธีนี้ใช้ได้ผลหลายบ้านเลย) 8. ใช้การเล่านิทานเด็กจะใช้จินตนาการของเขาเชื่อมโยงเรื่องราวในนิทานกลับมายังตัวเอง ให้ตัวละครในนิทานเป็นตัวอย่างในการใส่แมสก์ และจูงใจให้ลูกน้อยยอมใส่แมสก์แต่โดยดี
หนังสือนิทาน “ปิงปิงไม่ใส่หน้ากาก” สอนลูกห่างไกลโรคติดต่อ นิทานปิงปิง เรื่อง ปิงปิงไม่ใส่หน้ากาก 1 ใน 4 เรื่องจาก ชุดปิงปิงระวังภัย ผู้ช่วยคุณแม่ยุคใหม่ สอนลูกให้ห่างไกลโรคติดต่อ ด้วยการรู้จักดูแลสุขอนามัยของตัวเอง ผ่านตัวละครหนูน้อย “ปิงปิง” ซึ่งปิงปิง ก็เป็นเด็กคนหนึ่งที่รู้สึกอึดอัดและรำคาญเวลาที่ต้องสวมหน้ากาก และเมื่อถอดหน้ากาก ก็ทำให้ปิงปิงได้เรียนรู้และเข้าใจ ว่าทำไมต้องใส่หน้ากากอนามัย รวมไปถึงการดูแลสุขอนามัยที่จำเป็นอื่นๆ เช่น กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือ หนังสือเล่มนี้ช่วยให้ลูกน้อย “เรียนรู้การรักษาสุขอนามัย” ไปพร้อมกับปิงปิง อีกทั้งคุณแม่สามารถต่อยอด ชวนลูกมองกลับมาที่ตัวเอง เช่น สมมติว่าถ้าลูกเป็นหวัดเหมือนปิงปิง แล้วอยากไปเล่นกับเพื่อน แต่ไม่มีหน้ากากอนามัยจะทำอย่างไร? การตั้งคำถามให้ลูกได้ฝึกคิดต่อจะช่วยพัฒนา EF ของลูก ในการคิดยืดหยุ่น การยั้งคิด ไตร่ตรอง และปลูกฝังให้ลูกน้อยมีทักษะการใช้ชีวิต สามารถดูแลตัวเองได้อย่างปลอดภัยตั้งแต่วันนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีต่อไปในอนาคตข้างหน้าของลูก

ลูกซนมากทำไงดี คำถามยอดฮิตของคุณแม่ที่มี ลูกวัย 2-5 ปี

ลูกซน ทำไงดี? หนึ่งในคำถามยอดฮิตของคุณแม่ที่มีลูกวัย 2-5 ปี ที่เหน็ดเหนื่อยกับการรับมือลูกวัยซน ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีให้ลูกอยู่นิ่งๆ จริงๆ แล้วความซนเป็นธรรมชาติของเด็ก ความอยากรู้อยากลอง คือพัฒนาการอย่างหนึ่งของเด็กวัยนี้ที่คุณแม่ต้องทำความเข้าใจ เพราะเด็กวัย 2 ขวบขึ้นไป สามารถวิ่งได้แล้ว จึงไม่แปลกที่ลูกจะอยู่ไม่นิ่ง วิ่งไปทั่ว ปีนได้ปีน จนไล่จับกันไม่ไหว เหนื่อยทั้งกาย เหนื่อยทั้งใจ กลัวลูกจะเป็นอันตรายได้รับบาดเจ็บ เด็กวัยนี้อยากที่จะทดสอบความเป็นตัวของตัวเอง ว่าสามารถทำอะไรได้แค่ไหน ถ้าแม่ไม่ห้าม หรือห้ามแล้วเขาไม่ฟังล่ะ แม่จะทำยังไงต่อไป ถ้าแม่ปล่อย เขาก็จะเรียนรู้ว่า สิ่งนี้ทำได้ ดังนั้น หากคุณแม่เห็นว่าสิ่งไหนที่เป็นอันตราย ควรคุยกับลูกด้วยน้ำเสียงจริงจัง บอกเหตุผล โดยไม่ดุหรือตำหนิลูก ลูกจะเรียนรู้ว่า สิ่งนั้นทำไม่ได้จริงๆ อย่างไรก็ดี สิ่งที่เป็นอันตรายก็มีอยู่ไม่น้อยรอบตัวลูก การห้ามลูกบ่อยๆ อาจส่งผลทำให้ลูกรู้สึกไม่ไว้ใจโลก รู้สึกว่าโลกนี้ไม่ปลอดภัย กลายเป็นเด็กขี้กลัว ไม่มั่นใจในตัวเอง คุณแม่จึงควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้าน ให้ปลอดภัยไว้ก่อน เพื่อให้ลูกน้อยสามารถสำรวจโลกได้อย่างปลอดภัย และไม่ต้องคอยห้าม คอยเตือนให้ลูกเสียความมั่นใจ แม่รู้ไหม อันตรายในบ้านที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง? อันตรายในบ้านที่มักเกิดขึ้นกับลูกน้อยที่คุณแม่ต้องรู้ทันและรีบป้องกันก่อนสาย ได้แก่ 1. ล้มฟาดมุมโต๊ะ หรือขอบโต๊ะ เมื่อลูกวิ่งเล่น กระโดดไปทั่วบ้าน อาจวิ่งชน หรือสะดุดล้มกระแทบกับมุม หรือขอบโต๊ะ จนหัวแตก คิ้วแตกได้ แม้นักรบย่อมมีบาดแผล แต่สามารถป้องกันได้ สำหรับบ้านที่มีเด็ก ควรเลือกเฟอร์นิเจอที่ไม่มีเหลี่ยมมุม เพื่อป้องกันลูกล้มชนขอบ แต่หากของมีอยู่แล้วก่อนที่จะมีลูก คุณแม่สามารถหาซื้อยางปิดมุมโต๊ะกันกระแทกมาปิดไว้ เพื่อความอุ่นใจ ถึงลูกจะล้มก็ยังมีขอบนิ่มๆ ไม่ทำให้บาดเจ็บ 2. ถูกไฟช็อต เพราะปลั๊กไฟ เมื่อลูกวิ่งเล่น กระโดดไปทั่วบ้าน อาจวิ่งชน หรือสะดุดล้มกระแทบกับมุม หรือขอบโต๊ะ จนหัวแตก คิ้วแตกได้ แม้นักรบย่อมมีบาดแผล แต่สามารถป้องกันได้ สำหรับบ้านที่มีเด็ก ควรเลือกเฟอร์นิเจอที่ไม่มีเหลี่ยมมุม เพื่อป้องกันลูกล้มชนขอบ แต่หากของมีอยู่แล้วก่อนที่จะมีลูก คุณแม่สามารถหาซื้อยางปิดมุมโต๊ะกันกระแทกมาปิดไว้ เพื่อความอุ่นใจ ถึงลูกจะล้มก็ยังมีขอบนิ่มๆ ไม่ทำให้บาดเจ็บ 3. ถูกของร้อน น้ำร้อนลวก อันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พบบ่อย ได้แก่ เตารีด และกระติกน้ำร้อน คุณแม่ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก ทั้งตัวเครื่อง รวมถึงเก็บสายไฟขึ้นให้พ้นมือลูกด้วยเช่นกัน เพราะบ่อยครั้งที่เกิดอุบัติเหตุจากการที่ลูกดึงสายไฟแล้วกระติกน้ำร้อน หรือเตารีดตกลงมาใส่ลูกได้รับบาดเจ็บ 4. ตู้เสื้อผ้า ตู้ลิ้นชักล้มทับลูก อีกหนึ่งอุบัติเหตุของลูกวัยปีนป่ายที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง ลูกปีนตู้ลิ้นชักแล้วตู้ล้มลงมาทับเสียชีวิต หากที่บ้านมีตู้ใบใหญ่และหนัก ควรใช้ตะขอยึดตู้ติดกับผนังไว้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุตู้ล้มทับเด็ก 5. จมน้ำ เด็กจมน้ำเป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อย โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีบ้านอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ถังน้ำที่แต่ละบ้านใช้รองน้ำเก็บไว้ กะละมัง หรือแม้แต่ชักโครกที่เปิดฝาไว้ ก็สามารถพรากชีวิตลูกได้ หากปล่อยให้คลาดสายตา ดังนั้น อย่าปล่อยให้เด็กเล่นน้ำในกะละมัง หรืออยู่ใกล้น้ำตามลำพัง แม้จะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ เช่น ไปรับโทรศัพท์ หรือมีคนมาเรียก ก็ควรอุ้มพาออกไปด้วยทุกครั้ง สำหรับน้ำในถังหรือในกะละมัง หากใช้เสร็จแล้ว ควรเททิ้งและคว่ำถัง คว่ำกะละมังไว้ 6. พลัดตกจากที่สูง สำหรับครอบครัวที่พักอาศัยอยู่ในคอนโด หรืออพาร์ทเมนต์ ต้องระวังลูกพลัดตกจากที่สูง โดยอุบัติเหตุมักเกิดขณะที่ลูกหลับอยู่ในห้อง แล้วคุณแม่ออกไปทำธุระข้างนอกและปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียว เมื่อตื่นมาไม่เจอใคร ลูกอาจปีนระเบียง ปีนเตียง หรือปีนโต๊ะที่ตั้งอยู่ติดหน้าต่าง จนพลัดตกลงมาได้ เพื่อความปลอดภัยระเบียงต้องมีช่องห่างไม่มากพอที่เด็กจะรอดได้ หน้าต่างต้องอยู่สูงพอที่เด็กจะปีนป่ายเองไม่ได้ และไม่ควรวางเฟอร์นิเจอร์ชิดหน้าต่าง ควรติดตั้งลูกกรง เพื่อป้องกันการปีนป่ายและพลัดตก แต่ทางที่ดีที่สุดคือ ไม่ควรปล่อยลูกไว้ตามลำพังแม้ลูกจะหลับอยู่ก็ตาม 7. เอาของใส่ปาก ใส่จมูก คุณแม่ควรระวังชิ้นส่วนเล็กๆ ที่ลูกอาจหยิบใส่ปากและกลืนลงไปได้ เช่น เหรียญ กระดุม ชิ้นส่วนของเล่น เมล็ดถั่ว อาจเข้าไปติดหลอดลม ทำให้หายใจไม่ออก ถึงขั้นเสียชีวิตได้หากปฐมพยาบาลไม่ทัน นอกจากนี้ยังมีหลายเคสที่เด็กกลืนถ่านกระดุมลงไปในหลอดอาหาร เกิดเป็นกรดกัดกร่อนจนกระเพาะหรือหลอดอาหารทะลุ รวมไปถึงการนำสิ่งแปลกปลอมใส่จมูก เช่น เมล็ดน้อยหน่า ลำไย แตงโม ส้มโอ เมล็ดถั่ว ลูกปัด กระดุม หนังสติ๊ก เป็นต้น สิ่งเล็กๆ ที่คาดไม่ถึงเหล่านี้ก็ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก ไม่ควรให้ลูกเล่น และสอนให้ลูกรู้ว่า ไม่ควรเอาสิ่งที่ไม่ใช่อาหารเข้าปาก และไม่ควรเอาอะไรก็ตามใส่เข้าไปในรูจมูก เมื่อคุณแม่มั่นใจว่าสภาพแวดล้อมปลอดภัยแล้ว ก็สามารถปล่อยให้ลูกวัยซนเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ ปล่อยให้ลูกได้เจอปัญหาและผลลัพธ์ของการเล่นซุกซนบ้าง ลูกจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของตัวเองและต่อไปเขาจะระมัดระวังมากขึ้นเอง   หนังสือนิทาน ปิงปิงไม่ซนอีกแล้ว สอนลูกให้เรียนรู้ผลของการซุกซนด้วยตัวเอง ให้นิทานช่วยสอนอีกแรง เพราะหนังสือนิทานเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ดีในการสื่อสารกับลูกให้รู้จักระมัดระวังภัย เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสื่อสารกับลูกผ่านตัวละคร “ปิงปิง” ที่เล่นซุกซน เข้าไปแอบในเครื่องซักผ้า จนตัวติดออกมาไม่ได้ เมื่ออ่านนิทานแล้ว คุณแม่ชวนลูกคุยถามคำถามให้ลูกคิดว่าสิ่งที่ปิงปิงทำนั้นดีหรือไม่ ถ้าเป็นลูกจะทำแบบนั้นไหม หรือหากลูกติดอยู่แบบปิงปิง ลูกจะทำอย่างไร ยังมีที่ไหนอีกบ้างที่ลูกไม่ควรเข้าไปเล่น ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้คิดต่อยอดเชื่อมโยงมาสู่ตัวของลูก และหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นการฝึกทักษะสมอง EF ให้ลูกมีติดตัวไปใช้ในอนาคต เมื่อเกิดเหตุการณ์คล้ายกัน ลูกจะสามารถคิดเชื่อมโยง และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง สามารถดูแลตัวเองให้ปลอดภัยได้

ลูกเล็กถูกเพื่อนแกล้ง จะให้เอาคืนหรือยอม?

เมื่อลูกถูกเพื่อนแกล้ง เป็นปัญหาคาใจพ่อแม่ที่ไม่มีคำตอบถูกผิดตายตัว แต่มีหลักให้พ่อแม่นำไปปรับใช้ ดังนี้
  1. มองที่ผลระยะยาวก่อนว่า อยากให้ลูกเป็นคนแบบไหน ให้สอนแบบนั้น ถ้าสอนให้แรงมาแรงไป บางทีเพื่อนอาจหยุดแกล้ง แต่ก็เสี่ยงจะกลายเป็นปลูกฝังวิธีแก้ปัญหาด้วยกำลังโดยไม่รู้ตัว หรือไม่รู้จักคำว่าถอยเลย ซึ่งพ่อแม่ต้องระวังในจุดนี้เช่นกัน
  2. ไม่แนะนำให้สอนลูกนิ่งเงียบอดทน เก็บความรู้สึกไว้ เพราะลูกจะยังถูกเพื่อนแกล้งต่อไป และคนแกล้งก็จะไม่รู้ตัวว่าทำผิด
  3. แนะนำให้สอนลูกรู้จักรักษาสิทธิตัวเองเมื่อถูกรังแกหรือเอาเปรียบ ให้ลูกบอกเพื่อนดีๆ ว่า “เราไม่ชอบให้เธอทำแบบนี้นะ อย่าทำอีก” ถ้าลูกไม่กล้า ให้พ่อแม่จูงมือลูกไปหาเพื่อนคนนั้น แล้วให้ลูกพูดดีๆ ไม่ใช่ด่าหรือเดินไปเอาคืน ทำแบบนี้เพื่อให้ลูกเห็นว่า “เขาไว้ใจพ่อแม่ได้เสมอ” และพ่อแม่ก็เป็นตัวอย่างให้เขาเห็นว่า เวลาถูกเอาเปรียบควรทำอย่างไร
  4. ถ้าลูกบอกเพื่อนแล้ว เพื่อนก็ยังแกล้งอีก สอนให้ลูกไปฟ้องครู หรืออยู่ให้ห่างจากเพื่อนคนนั้นไว้ก่อน
  5. ถ้าลูกยังถูกเพื่อนแกล้งประจำไม่เลิก พ่อแม่ต้องเข้าไปพบครูช่วยกันแก้ปัญหา ไม่ใช่ไปเอาเรื่องครู แต่เพื่อแสดงให้ลูกเห็นว่าเราต้องรักษาสิทธิอย่างไร และพ่อแม่ไม่ได้นิ่งนอนใจนะ
สุดท้ายคงไม่มีคำตอบฟันธงชัดๆ ว่า เมื่อลูกถูกเพื่อนแกล้ง ควรทำแบบไหนดีที่สุด อาจผสมผสานยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ ยึดหลักคือ สอนให้ลูกรู้จักรักษาสิทธิตัวเอง แต่ไม่ล้ำเส้นคนอื่น และไม่ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา