

เมื่อไหร่ลูกควรเล่นมือถือหรือโซเชียล?
ตอบแบบเจาะจงยาก แต่ผลวิจัยทั่วโลกระบุตรงกันว่า ต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรให้ลูกดูหน้าจอนานๆ ทุกวัน จะส่งผลเสียต่อพัฒนาการแน่นอน แล้วจะให้ลูกเล่นมือถือ/โซเชียลเมื่อไหร่…
ตอบได้กว้างๆ คือ ต้องมีสิ่งต่อไปนี้ก่อน ควบคุมตัวเองได้ เช่น ทำการบ้านเสร็จก่อน อาบน้ำเสร็จก่อน กินข้าวเสร็จก่อน ฯลฯ หลักคือ สามารถทำเรื่องไม่สนุกให้เสร็จก่อนค่อยเล่นได้ นั่นคือ มีความอดทนทำเรื่องไม่สนุกจนเสร็จได้ รู้จักวางแผนงาน (ทำอย่างไรให้เสร็จเร็วๆ จะได้ไปเล่น) มีความรับผิดชอบประมาณหนึ่ง (ถ้าไม่ทำ จะถูกดุ ไม่ได้กินขนม)
สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่อยู่ดีๆ ลูกจะมีได้ โดยพ่อแม่พูดสอนครั้งสองครั้ง แต่ลูกจะได้จากการเล่น พ่อแม่อ่านนิทานให้ฟัง ลูกอ่าน (ดู) เอง ให้ลูกช่วยงานบ้าน ใช้เวลาอยู่กับลูกมากพอ
ถ้าลูกมีสิ่งเหล่านี้ก็เป็นสัญญาณดีที่พ่อแม่ควรให้ลูกใช้มือถือหรือโซเชียลได้ แต่แน่นอน ไม่ปล่อยให้เขาเล่นตามลำพัง พ่อแม่ต้องคอยกำกับแนะนำ มีเป้าหมายจะใช้เพื่ออะไร หาข้อมูล ดูการ์ตูน ดูรูปสัตว์ ฯลฯ และกำหนดเวลาใช้ชัดเจน เช่น 30 นาทีไม่เกินนี้ต่อวัน หลังจากนั้นก็ควรพาไปเล่น ช่วยงานบ้าน อ่านหนังสือให้ฟังมากกว่าอยู่ดี
(ขอบคุณภาพประกอบจาก freepik.com)
นิทานภาพคำกลอน สอนลูกให้ใช้เวลาอยู่หน้าจออย่างเหมาะสมเปลี่ยนลูกติดหน้าจอให้เป็นเด็กติดกิจกรรมแทน
Activity Book ประกอบนิทานแสนสนุก เรียนรู้การใช้เวลาอยู่หน้าจออย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้เล่น หรือทำกิจกรรมสนุกอย่างอื่นแทน สำหรับเด็กปฐมวัย สนุกกับกิจกรรมภายในเล่ม พร้อมสติ๊กเกอร์แสนน่ารัก เสริมทักษะ EF
1. ฝึกให้ลูกทำทุกอย่างด้วยตัวเอง
ตั้งแต่เข้าห้องน้ำ ขับถ่าย รู้จักแปรงฟัน อาบน้ำ
แต่งตัว และตักอาหารกินเอง ไม่ถึงกับต้องทำได้ดีทั้งหมด
เลอะบ้าง ไม่เรียบร้อยบ้างก็ไม่เป็นไร ลูกจะค่อยๆ เรียนรู้
และทำได้ดีขึ้นเอง
2. พาลูกออกไปเล่นกับเพื่อนนอกบ้าน
เพราะเมื่อถึงวัยเข้าโรงเรียนลูกจะต้องพบเจอเพื่อนใหม่ๆ
คุณครูและคนอื่นๆ การพาเด็กลูกออกไปเล่นนอกบ้านเป็นประจำ
จะช่วยให้ลูกปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ง่ายขึ้น
ไม่ขี้กลัวหรือขี้อายมากเกินไป
3. พาลูกไปทำความคุ้นเคยกับโรงเรียนก่อนวันจริง
อาจพาไปเล่นในสนามเด็กเล่นของโรงเรียน ลองเข้าห้องน้ำ เดินดูสถานที่ต่างๆ
ถ้าเป็นไปได้ให้พาไปแนะนำกับคุณครูก่อน
ระหว่างนั้นพ่อแม่ก็พยายามเล่าถึงความสนุกของไปโรงเรียน
เพื่อให้ลูกคลายความกังวล
3 วิธีง่าย ๆ ที่ช่วยให้นักเรียนใหม่ของเราพร้อมจะไปโรงเรียนเหมือนไปเที่ยวสวนสนุก
นิทานภาพคำกลอน แก้ปัญหาลูกติดขวดนม ซึ่งส่งผลเสียต่อฟันผุ พันเหยิน มีปัญหาพูดไม่ชัด และเสี่ยงต่อภาวะโรคอ้วน
นิทานภาพคำกลอน ฝึกลูกให้รู้จักดูแลตัวเองง่าย ๆ ตั้งแต่ที่บ้านก่อนไปโรงเรียน เมื่อถึงวันจริงควรเผื่อเวลาให้ลูกได้เตรียมตัว ไม่เร่งรีบ หงุดหงิด ดุว่า มารับลูกตรงเวลาที่บอกไว้ รวมถึงคอยเป็นกำลังใจและสร้างความมั่นใจให้ลูกในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่และเพื่อนใหม่ที่โรงเรียน
หลังจากอายุครบ 6 เดือนขึ้นไป เด็กจะมีพัฒนาการที่สามารถดื่มนม ดื่มน้ำจากแก้วได้ดีขึ้นเรื่อยๆ และจะถือแก้วได้ดีตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แต่เด็กบางคนยังติดขวดนมไม่ยอมเลิกเสียที วันนี้พี่คิดส์ซี่มีเทคนิคดีๆ ช่วยให้ลูกเลิกติดขวด หันมาใช้แก้วแทนมาแนะนำกันค่ะ
.
1. ใช้ถ้วยแทนขวดนม ให้ลูกลองหัดดื่มจากถ้วย อาจเริ่มจาก 1 ครั้งใน 1 สัปดาห์ ลองให้เด็กเลือกถ้วยที่ชอบเอง การใช้ถ้วยจะทำให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมือไปด้วย โดยในช่วงแรกอาจใช้ถ้วยแบบมีฝาปิดเพื่อกันนมหก เมื่อลูกเริ่มใช้คล่องจึงเปลี่ยนเป็นถ้วยแบบธรรมดา
.2. เปลี่ยนรสนมในขวดให้เด็กไม่คุ้น โดยเจือจางนมทีละน้อย ทำบ่อยครั้ง (คุณแม่สายโหดบางคนใช้วิธีเติมมะนาวลงในนม) เด็กจะรู้สึกไม่อร่อย แล้วฝึกให้ลูกกินนมปกติจากแก้วแทน
3. ใช้เหตุผล วิธีนี้เหมาะสำหรับลูกที่รู้ความแล้ว อธิบายให้เด็กฟังว่าถึงเวลาที่ต้องเลิกใช้ขวดนมแล้ว ไม่เช่นนั้นจะขาดสารอาหาร ฟันยื่น ฟันผุ โดนเพื่อนที่โรงเรียนอนุบาลล้อ เล่านิทานเกี่ยวกับการเลิกดูดขวดนมเพื่อจูงใจให้เด็กอยากเลิก
.4. เก็บอุปกรณ์ทุกอย่างที่เกี่ยวกับนมออกจากบ้าน วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กที่กำลังเลิกแล้ว แต่อาจยังใช้ขวดนมบ้างวันละ 1-2 ครั้ง
เทคนิคสำคัญอีกข้อคือ คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมชมลูกว่า ‘เก่ง’ ด้วยนะคะ เมื่อเขาทำได้
นิทานภาพคำกลอน แก้ปัญหาลูกติดขวดนม ซึ่งส่งผลเสียต่อฟันผุ พันเหยิน มีปัญหาพูดไม่ชัด และเสี่ยงต่อภาวะโรคอ้วน
บ้านไหนเจอปัญหาลูกถูกขัดใจทีไรก็ร้องกรี๊ดโวยวายลั่นบ้านบ้างคะ พ่อแม่หลายท่านคงปวดหัวไม่น้อยเมื่อต้องมารบกับเจ้าตัวเล็กเช่นนี้ วิธีรับมือให้อยู่หมัดทำได้ไม่ยากเลยค่ะ ที่สำคัญพ่อแม่ต้องไม่ยอมใจอ่อน เมื่อเห็นลูกแสดงอาการต่อต้าน มีอะไรบ้างมาดูกันเลย
1. หากลูกอาละวาด ลงไปชักดิ้นชักงอกับพื้น หรือกระโดดกระทืบเท้าเต้นเร่าๆ พ่อแม่ต้องนิ่งไว้ ไม่ใช้อารมณ์ตอบโต้ ให้เขาร้องไห้จนเหนื่อยแล้วสักพักจะหยุดได้เอง สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ กอดลูกไว้ ไม่ต้องดุด่า ถ้าเขาร้องเพราะถูกขัดใจ ควรหากิจกรรมอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจให้เด็กลืม
2. สอนลูกให้รู้จักรอ เพราะเด็กเล็กคุ้นชินกับการถูกตามใจมาตั้งแต่เป็นทารก เมื่อถูกขัดใจก็จะร้องไห้และทำต่อๆ มาจนโต ถ้าพ่อแม่ตามใจ จัดหาทุกอย่างให้ได้ทันใจเขา เด็กจะกลายเป็นคนที่รออะไรไม่ได้ ถ้าถูกคนอื่นขัดใจก็จะแสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารักออกมา
3. พ่อแม่ต้องมีความมั่นคงทางอารมณ์ เพราะเด็กจะเรียนรู้พฤติกรรมจากผู้ใหญ่ เช่น ถ้ารู้ว่าร้องไห้แล้วจะได้ของเล่น ร้องไห้แล้วได้ไปเที่ยว ในครั้งต่อๆ ไป เขาก็จะทำแบบเดิมอีก พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการควบคุมอารมณ์ หากเด็กกำลังอาละวาด อย่าเพิ่งทำโทษเขา ควรคุยหลังจากเด็กสงบแล้ว โดยใช้คำพูดที่สุภาพ เมื่อเด็กโตขึ้นเขาจะได้รู้จักจัดการกับอารมณ์ของตนเองและแสดงออกกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
4. ให้ลูกเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตนเองในเรื่องง่ายๆ เช่น ใส่เสื้อผ้า กินข้าว เก็บจานข้าว ถือกระเป๋านักเรียน ฯลฯ เด็กจะได้มีความรับผิดชอบและรู้หน้าที่ของตนเอง
5. สร้างกฎ กติกา กำหนดข้อตกลงให้ชัดเจนว่าอะไรทำได้ และอะไรทำไม่ได้ เด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสำรวจ พ่อแม่จึงควรห้ามเฉพาะเรื่องที่อาจเกิดอันตรายได้ก็พอ หากจะสกปรก เลอะเทอะบ้างก็ควรปล่อยลูกให้ได้เล่นได้ลองทำก่อนจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กได้ดีกว่าห้ามไปเสียทุกเรื่อง
พ่อแม่ต้องหมั่นพูดคุยกับลูกด้วยเหตุผล กอดลูกบ่อยๆ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กแสดงออกอย่างเหมาะสม เมื่อลูกได้รับความรักความอบอุ่นที่เพียงพอ ก็จะไม่เรียกร้องความสนใจ ไม่เอาแต่ใจตัวเอง รู้จักเห็นใจคนอื่นและโตขึ้นเป็นคนที่มีเหตุผล
นิทานภาพคำกลอน รับมือลูกเอาแต่ใจ ชักดิ้นชักงอ ด้วยเทคนิคขอเวลานอก
นิทานภาพคำกลอนชุดนี้ ฝึกลูกให้มีวินัย รู้หน้าที่ตนเอง พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล แก้ปัญหาลูกดื้อ ห่วงเล่น ไม่ชอบสระผม เอาแต่ใจ ฉี่รดที่นอน
“ความรับผิดชอบ” เป็นกุญแจหนึ่งที่นำไปสู่การประสบความสำเร็จ จึงเป็นอีกเรื่องที่พ่อแม่ต้องฝึกให้ลูกมี
ดูเป็นเรื่องใหญ่ แต่ความจริงสอนลูกได้ไม่ยาก ผ่านกิจวัตรประจำวันที่ลูกทำได้ง่ายๆ อย่างการชวนทำงานบ้าน
หลักคือ เลือกงานที่เหมาะกับวัยของเขา ไม่ยากซับซ้อน เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวก่อน เช่น แปรงฟัน แต่งตัว กินข้าวเอง จากนั้นค่อยมอบหมายงานเล็กๆ น้อยๆ เช่น พับผ้า รดน้ำต้นไม้ ล้างจาน กวาดบ้าน
โดยพ่อแม่ทำให้ดูก่อน แล้วให้เขาทำตาม จากนั้นลองให้ลูกทำเอง ทำให้เป็นเรื่องสนุกอย่าเคร่งเครียด ไม่บังคับ ทำเหมือนเรากำลังเล่นสนุกกันอยู่
นิทานภาพคำกลอน สอนให้รู้จักช่วยทำงานบ้านง่าย ๆ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน จับคู่ถุงเท้า งานบ้านจะช่วยฝึกทักษะด้านต่าง ๆ ทั้งการรู้จักรับผิดชอบตัวเอง ฝึกทำงานอย่างเป็นขั้นตอน พร้อมเกร็ดความรู้ท้ายเล่มสำหรับพ่อแม่ในการเลือกงานบ้านที่เหมาะกับเด็ก
นิทานภาพคำกลอนชุดนี้ ส่งเสริมสุขนิสัยและพัฒนาทักษะในการช่วยเหลือตนเอง มีวินัย รู้จักรับผิดชอบตนเอง แก้ปัญหาลูกไม่ยอมกิน เข้านอนยาก ไม่ชอบแปรงฟัน
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ยุคนี้เป็นยุคสื่อโซเชียล ที่ไม่ว่าใครก็ต้องใช้สื่อด้านนี้ให้เป็น ไม่ว่าวัยไหน ทั้งวัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย หรือแม้กระทั่งเด็กก็ตาม
หลายครอบครัวที่พ่อแม่หยิบยื่นสมารท์โฟนหรือแท็บเล็ตให้ลูกน้อย เพียงเพราะต้องการมีเวลาไปทำอย่างอื่น โดยอาจรู้หรือไม่รู้ว่าสื่อเหล่านี้ไม่ได้มีประโยชน์กับเด็กเลย เพราะเด็กเล็กยังแยกแยะอะไรไม่ได้มาก และเด็กเองควรจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะสมกับวัยผ่านกิจกรรมอื่นมากกว่า
การเสพสื่อโซเชียลในเด็กเล็กเป็นการเสพสื่อเพียงด้านเดียวคล้ายกับการปล่อยให้เด็กนั่งดูโทรทัศน์ เด็กจะไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับใคร พัฒนาการด้านภาษา (สื่อสาร) และสังคมไม่ได้ถูกกระตุ้นเรียนรู้ รวมถึงร่างกายก็ไม่ถูกใช้ เพราะเด็กจะแค่นั่งดูหน้าจอนิ่ง ๆ หรือใช้แค่นิ้วกดไปมาบนหน้าจอ
ที่สำคัญยังส่งผลเสียกับดวงตา เพราะแสงสีฟ้าจากหน้าจอจะก่อให้เกิดปัญหาทั้งตาแห้ง แสบตา ปวดตา ไปจนถึงประสาทตาเสื่อม
นอกจากนี้เด็กที่เล่นโซเชียลจะมีปัญหาการควบคุมอารมณ์ตามมา ภาพในจอจะเปลี่ยนไปไวมาก เด็กจึงไม่คุ้นเมื่อพบว่าชีวิตจริงต้องรอคอยสิ่งต่างๆ นานกว่า ทำให้กลายเป็นคนหงุดหงิด ขี้โมโห รอไม่เป็น
หรือแม้แต่พัฒนาการด้าน IQ พ่อแม่หลายคนอาจหลงดีใจที่ลูกดูสื่อเหล่านี้แล้วพูดตามได้เป็นคำ ๆ ตั้งแต่ยังเล็ก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงแค่การท่องจำเพราะดูซ้ำ ไม่ได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ สัมผัส โต้ตอบของจริง จึงไม่ได้ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ
พ่อแม่จึงไม่ควรนำสื่อเหล่านี้ไปสู่ลูกน้อย ควรรอเวลาให้ลูกเติบโตเต็มที่ มีพัฒนาการสมวัยทุกด้านก่อน ค่อยให้เด็กเริ่มหัดใช้ โดยมีพ่อแม่ให้คำแนะนำดูแลอยู่ใกล้ ๆ เพื่อให้ลูกได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและสื่อเหล่านี้เต็มที่
นิทานภาพคำกลอน สอนลูกให้ใช้เวลาอยู่หน้าจออย่างเหมาะสมเปลี่ยนลูกติดหน้าจอให้เป็นเด็กติดกิจกรรมแทน
Activity Book ประกอบนิทานแสนสนุก เรียนรู้การใช้เวลาอยู่หน้าจออย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้เล่น หรือทำกิจกรรมสนุกอย่างอื่นแทน สำหรับเด็กปฐมวัย สนุกกับกิจกรรมภายในเล่ม พร้อมสติ๊กเกอร์แสนน่ารัก เสริมทักษะ EF
ทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า มือถือหรือแทบเล็ตกลายเป็นอีกอวัยวะที่หลายคนขาดไม่ได้ ไม่เว้นแม้แต่เด็กเล็กๆ และการจ้องหน้าจอเหล่านั้นนานๆ ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพดวงตาด้วย เรียกว่า Computer Vision Syndrome หรือ CVS คือ กลุ่มอาการทางสายตา เช่น ปวดตา แสบตา ระคายเคืองตา ฯลฯ ซึ่งเกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์มากเกินไป ที่น่าตกใจก็คือ ปัจจุบันมีแนวโน้มพบอาการนี้ในเด็กเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
การที่เด็กๆ อ่านหรือเล่นแทบเล็ตบ่อยๆ มีผลวิจัยระดับนานชาติหลายชิ้นรายงานตรงกันว่า ทำให้มีโอกาสเสี่ยงสายตาสั้นได้มาก เพราะต้องเพ่งมองหน้าจอสว่างระยะใกล้ เป็นเวลานานๆ ซึ่งหน้าจอแทบเล็ต รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ มือถือ ไฟหน้ารถยนต์ จะมีแสงสีฟ้า (blue light) เป็นแสงช่วงความยาวคลื่นต่ำ แต่มีพลังงานสูง สามารถทำลายจอประสาทตาได้ทำให้เกิดผลเสียต่อดวงตาในระยะยาว
ในทางการแพทย์โดยสมาคมกุมารเวชศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่แนะนำให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เล่นคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแทบเล็ต เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็กวัยนี้แล้ว ยังก่อให้เกิดโทษด้วยทั้งปัญหาสายตา สมาธิสั้น และทักษะทางสังคม
สำหรับเด็กวัย 2 ปีขึ้นไป หากจำเป็นต้องใช้แทบเล็ตจริงๆ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรปฏิบัติดังนี้
1. จำกัดการเล่นไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน และไม่ควรเล่นติดต่อกันนานเกิน 30 นาทีต่อครั้ง สลับกับการพักสายตาไม่น้อยกว่า 30 วินาที
2. นอกจากนั้นควรปรับความสว่างหน้าจอให้สบายตาที่สุด ไม่สว่างมากหรือน้อยเกินไป อาจติดฟิลม์หรือใช้แอพพลิเคชันกรองกรองแสง เพื่อไม่ให้แสงแยงตามากเกินไป ปรับขนาดอักษรใหญ่เห็นชัดเจน ไม่ให้เด็กจ้องมองจอระยะใกล้เกินไป ควรห่างประมาณ 1 ฟุต (1 ไม้บรรทัด)
แม้ว่าเราจะปฏิเสธการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์โซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ได้ แต่จำเป็นที่เราต้องฉลาดใช้และเท่าทันอันตรายที่อาจแฝงมากับความทันสมัยโดยไม่รู้ตัวค่ะ
นิทานภาพคำกลอน สอนลูกให้ใช้เวลาอยู่หน้าจออย่างเหมาะสมเปลี่ยนลูกติดหน้าจอให้เป็นเด็กติดกิจกรรมแทน
Activity Book ประกอบนิทานแสนสนุก เรียนรู้การใช้เวลาอยู่หน้าจออย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้เล่น หรือทำกิจกรรมสนุกอย่างอื่นแทน สำหรับเด็กปฐมวัย สนุกกับกิจกรรมภายในเล่ม พร้อมสติ๊กเกอร์แสนน่ารัก เสริมทักษะ EF
เด็ก 2-3 ปี เป็นวัยที่เริ่มเป็นตัวของตัวเอง ยึดตัวเองเป็นหลัก จึงมักชอบทำในสิ่งตรงข้ามที่ผู้ใหญ่บอก ทำให้พ่อแม่ปวดหัวบ่อยๆ ซึ่งถือเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของเด็กวัยนี้ ไม่ได้ถือเป็นนิสัยเสียร้ายแรงที่แก้ไขไม่ได้ วิธีรับมือกับลูกชอบเถียงจึงไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยค่ะ เราสามารถทำได้ดังนี้
1. รับฟังลูกอย่างใจเย็น เป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำเป็นอันดับแรก ใช้เหตุผลอธิบายง่ายๆ กับลูกอย่างอดทน เพราะเจ้าตัวเล็กอาจเถียงข้างๆ คูๆ ไม่ฟังเหตุผลด้วยเขายังเล็กเกินไป เช่น “หนูจะเล่นต่อ! ยังไม่อยากอาบน้ำนะ” ลูกอาจกำลังลองใจว่าพ่อแม่จะจริงจังกับเขาแค่ไหน พ่อแม่ต้องไม่ใช้อารมณ์หรือบังคับ หรือยอมปล่อยผ่าน แต่ให้บอกลูกว่า “การพูดแบบนั้นไม่น่ารัก และแม่จะไม่ยอมทำตาม”
2. เมื่อลูกสงบจึงอธิบาย เด็กส่วนใหญ่มักแสดงอาการต่อต้าน ร้องไห้ อาละวาด พ่อแม่ควรรอจนลูกสงบก่อนจึงเข้าไปกอด ทำให้ลูกอารมณ์ดีขึ้น แล้วค่อยๆ สอนลูกว่า การเถียงหรือพูดแบบนั้นลูกจะไม่ได้รับการตอบสนองเลย แนะนำให้ลูกพูดจาด้วยน้ำเสียงสุภาพ โดยพ่อแม่ควรพูดเป็นตัวอย่างให้ฟังก่อนแล้วให้ลูกพูดตาม และอย่าลืมชมเชยให้กำลังใจลูกด้วยเมื่อลูกพูดได้
3. ให้คำแนะนำและสร้างความมั่นใจ แนะนำลูกให้รู้จักบอกเหตุผลหรือสิ่งที่ตัวเองคิด เพื่อแม่จะได้เข้าใจ ขณะเดียวกันก็อธิบายให้ลูกรู้ว่า ทำไมแม่จึงไม่ทำตามสิ่งที่เขาต้องการและต้องให้ลูกทำอย่างนั้น อาจใช้โอกาสนี้ในการสอนให้ลูกรู้จัก “การขอโทษ” และแก้ตัวใหม่ ลองสมมุติว่าเกิดเหตุการณ์นี้อีก ถามลูกว่าควรจะพูดจาอย่างไรให้น่าฟัง
นอกจากนี้ พ่อแม่ควรหมั่นพูดคุยถึงความคิด ความรู้สึกให้ลูกฟังในบรรยากาศสบายๆ เพื่อให้ลูกรู้จักการแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติผ่านกิจวัตรประจำวันที่น่าจะช่วยแก้ปัญหาลูกชอบเถียงที่ได้ผลอีกวิธีหนึ่งค่ะ
การฉี่รดที่นอนของเด็กเล็ก ๆ วัย 1-5 ปี เป็นเรื่องปกติ เพราะพัฒนาการทางร่างกายยังไม่สมบูรณ์ นิทานภาพคำกลอนเล่มนี้มีวิธีแก้ปัญหาลูกฉี่รดที่นอน ด้วยการฝึกให้ลูกปัสสาวะก่อนเข้านอน และไม่ควรอารมณ์เสีย ดุว่า หากลูกยังปรับตัวไม่ได้
หลายครั้งพ่อแม่ตกหลุมพรางคำว่า
‘ลูกเก่ง’ เท่ากับ ‘ลูกคิดเป็น’ ซึ่งไม่ใช่!
เราจึงมักเห็นเด็ก 5 ขวบ เก่งเขียน ก-ฮ คล่อง แต่พอทำน้ำหกกลับร้องไห้ไม่รู้จะทำอย่างไร
หรือสอบได้ที่ 1 แต่ยังดิ้นพราดจะเป็นจะตายถ้าไม่ได้คะแนนเต็ม
กลายเป็นว่าลูกเรียนเก่ง แต่ชีวิตจริงเมื่อเผชิญปัญหากลับรับมือไม่ได้
การเรียนอย่างเดียวให้ลูกได้แค่ “ความรู้”
แต่การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ “ฝึกวิธีคิด” ให้ลูก
การฝึกวิธีคิดของลูกเกิน 90% ได้จากการเล่น การตั้งคำถาม การใช้เวลากับพ่อแม่
ทำงานด้วยกัน คุย สบตา สัมผัส กอด ได้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
โดยเฉพาะการฝึกตั้งคำถาม จะช่วยให้ลูกพัฒนาสมองส่วนคิดได้มาก
เรียนรู้การใช้เหตุผล บางสถานการณ์ยังช่วยฝึกควบคุมอารมณ์
เช่น ลูกทำน้ำหก แทนที่จะดุก็เปลี่ยนมาถามลูกว่า “น้ำหกจะทำยังไงดีนะ”
หรืออ่านนิทานจบก็ลองชวนลูกคุยต่อ “ถ้าหนูเป็นเหมือนหมีน้อยในเรื่องจะทำแบบนั้นมั้ยจ้ะ”
พ่อแม่ควรหมั่นตั้งคำถามให้ลูกฝึกคิดเนียนไปกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
ตั้งคำถามจากเรื่องที่ลูกชอบหรือสนใจก่อนเป็นหลัก
เปิดโอกาสให้ลูกได้ถามบ่อยๆ ไม่รำคาญความช่างซักช่างถามซ้ำๆ
บ่อยครั้งเรายังต่อยอดช่วยลูกหาคำตอบจากการ “ลองทำดู”
ลองผิดลองถูกได้ไม่เป็นไร จะช่วยฝึกให้ลูกกล้าตัดสินใจและเรียนรู้ผลที่ตามมาได้อีก
การอ่านนิทานและตั้งคำถามจากเรื่องก็เป็นวิธีพัฒนาสมองส่วนเหตุผลให้ลูกได้ดี
เพราะเด็กสนุกและจดจ่อกับนิทานอยู่แล้ว พร้อมซึมซัมพฤติกรรมจากตัวละครที่เขาชอบ
นิทาน ชุดฉันชื่ออองตอง ปลูกฝังให้เด็กช่างสงสัยใคร่รู้ผ่านเหตุการณ์ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน แถมหุ่นนิ้วและตุ๊กตากระดาษภายในเล่มใช้ต่อยอดความคิดและจินตนาการสนุกและ ชุดนิทานต่างมุม เป็นนิทานปลายเปิดฝึกลูกใช้สมองส่วนเหตุผล บอกเล่าตอนจบได้เองตามจินตนาการ ไม่มีถูกผิด ฝึกคิดและเรียนรู้ทักษะชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่แตกต่าง เป็นนิทานได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น สพฐ. ปี 61