Category Archives: ทักษะพัฒนาการ

วิธีเลี้ยงลูกให้สุขภาพดีแข็งแรง

10 วิธีเลี้ยงลูกให้สุขภาพดีแข็งแรง

เล่นเกม ทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังกาย 1 ชั่วโมงฟังดูเหมือนนาน แต่การเล่นเกมในเวลา 60 นาทีนั้นไม่นานเลย ลองเลือกกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายและพ่อแม่ลูกเล่นด้วยกันได้ เช่น ตั้งเต โยนบอล เตะบอล เป่าฟองสบู่ หรือออกไปเดินเล่นด้วยกัน เป็นต้น ส่งเสริมกิจกรรมที่ลูกสนใจ แต่ละครอบครัวมีสไตล์การเลี้ยงลูกที่แตกต่างกันไป หากสนับสนุนลูกในทางที่เหมาะกับครอบครอบของเราก็จะช่วยให้รู้สึกว่าการดูแลร่างกายให้แข็งแรงไม่ใช่เรื่องยาก ไม่รู้สึกว่าต้องใช้ความพยายามมากนัก เช่น ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน เล่นกีฬาที่ลูกสนใจ อย่าลืมแต่งตัวให้เหมาะสม ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีจะช่วยให้ลูกทำกิจกรรมได้ต่อเนื่องยาวนาน และดื่มน้ำให้เพียงพอด้วย พาลูกห่างจอ เด็กติดจอเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคอ้วน ป้องกันได้โดยการพาลูกห่างจอออกไปทำกิจกรรมที่แอคทีฟแทนที่จะนั่งอยู่หน้าจอทั้งวันเพื่อดูทีวีหรือเล่นอินเทอร์เน็ต กำหนดเวลาในการใช้จอของลูก ไม่ควรมีทีวีหรือคอมพิวเตอร์ในห้องนอน ไม่ควรให้ลูกดูทีวีนานเกิน 2 ชั่วโมง ไม่ควรให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบดูหน้าจอทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นทีวี โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต และหากิจกรรมอื่นๆ เล่นกับลูกทดแทนการปล่อยให้ลูกอยู่กับหน้าจอ จัดเตรียมมื้ออาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารแปรรูป เช่น ไก่ทอด เฟรนช์ฟรายด์ ไส้กรอก แฮม พิซซ่า เพิ่มผักและผลไม้สดในมื้ออาหาร ลดอาหารกระป๋องที่มีโซเดียมสูง รวมถึง จัดสรรเวลาในการเตรียมอาหารสำหรับมื้อเช้าที่ทำง่ายและใช้เวลาไม่นานทำเตรียมไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืน หรือทำอาหารในวันหยุดเตรียมไว้สำหรับรับประทานระหว่างสัปดาห์ เป็นต้น ทำให้เป็นเรื่องสนุก เด็กมีแนวโน้มที่จะชอบกินของที่ตัวเองมีส่วนร่วมในการทำ ดังนั้น เป็นความคิดที่ดีที่จะชวนลูกมามีส่วนร่วมในการวางแผน เลือก และเตรียมมื้ออาหารที่มีประโยชน์ที่เขาอยากกิน และยังทำให้ลูกได้เรียนรู้ว่าอาหารมาจากไหน กว่าจะมาเป็นอาหารเสิร์ฟร้อนๆ ในจานของเขา เช่น ชวนลูกปลูกผักสวนครัว ชวนทำคุกกี้โดยใช้พิมพ์น่ารักๆ รูปทรงต่างๆ จัดจานให้สวยงามด้วยผักหลากสี เป็นต้น ค่อยๆ ลดอาหารในครัวที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่จำเป็นต้องพลิกชีวิตจากหน้ามือเป็นหลังมือในทันทีแต่ควรค่อยๆ เปลี่ยนไปทีละนิด เช่น เปลี่ยนจากข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง เลือกเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลน้อย ดื่มน้ำเปล่าเพิ่มขึ้น ดื่มนมจืดแทนนมหวานหรือนมช็อกโกแลต ลดขนมขบเคี้ยว อาหารไขมันสูง เพิ่มผักและผลไม้ เป็นต้น การเปลี่ยนพฤติกรรมที่เคยชินไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะการเปลี่ยนอาหารของลูก เด็กเล็กมักยอมทดลองอาหารใหม่ๆ ง่ายกว่าเด็กโต ดังนั้น การสร้างนิสัยการกินที่ดีตั้งแต่ยังเล็กจะได้ผลง่ายกว่า ในเด็กโตอาจต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะโน้มน้าวให้ลูกลองอาหารใหม่ๆ แต่เชื่อว่า ไม่ยากเกินความพยายามและตั้งใจจริง สอนให้ลูกล้างมือบ่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรคที่ทำให้เด็กเจ็บป่วยได้ง่าย ควรสอนให้ลูกล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ซึ่งส่วนมากอาจนึกถึงแค่ก่อนมื้ออาหาร แต่ลืมนึกไปถึงการหยิบขนมขบเคี้ยว หรืออาหารว่างระหว่างวัน ก็สามารถนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ หรือการหยิบจับของเล่น แล้วเอามือสัมผัสใบหน้า ขยี้ตา เช็ดจมูก ก็สามารถทำให้ป่วยได้เช่นกัน ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องสอนลูกล้างมือบ่อยๆ รับวัคซีนพื้นฐานตามกำหนด ตั้งแต่แรกเกิดคุณหมอจะให้สมุดวัคซีนกลับบ้าน พ่อแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนตามกำหนดเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อย และพิจารณาฉีดวัคซีนทางเลือกตามความเหมาะสม เช่น วัคซีนโรต้า วัคซีนไอพีดี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น เข้านอนเป็นเวลา การฝึกลูกให้มีวินัย กิน นอน เล่นเป็นเวลา ทำให้การเลี้ยงลูกง่ายขึ้น การเข้านอนเป็นเวลาช่วยให้ลูกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนได้ดี ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต ช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อ มวลกระดูก และมีพัฒนาการที่สมวัยไม่ควรนอนเกิน 4 ทุ่ม เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายผลิตโกรทฮอรโมนได้มากที่สุดและควรนอนไม่ต่ำกว่า 7-8 ชั่วโมงต่อคืน เป็นต้นแบบในการดูแลสุขภาพให้ลูกเห็น เริ่มต้นดูแลตัวเองกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เข้านอนเป็นเวลา เป็นต้นแบบการใช้ชีวิตที่ดีให้ลูกเห็น พูดคุยกับลูกถึงข้อดีของการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงให้ลูกมีส่วนร่วมเสมอ ลูกจะค่อยๆ ซึมซับนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพจากพ่อแม่ และทำตามพ่อแม่จนเป็นความเคยชิน และเป็นนิสัยได้ในที่สุด นอกจากนี้ วิธีเลี้ยงลูกให้สุขภาพดีแข็งแรง พ่อแม่อาจใช้ตัวช่วยเป็นนิทานสนุกๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อดีของการมีร่างกายที่แข็งแรง มาใช้สอนลูกได้ด้วย

วิธีสอนลูกให้มั่นใจในตัวเอง

13 วิธีสอนลูกให้มั่นใจในตัวเอง

การเห็นคุณค่าในตัวเอง หมายความว่าเรารู้สึกดีกับตัวเอง ว่าเราเป็นใคร และเรามีประโยชน์อย่างไร สิ่งนี้นำไปสู่ความรู้สึกเชื่อมั่นในตัวเองและความมั่นใจโดยรวม เด็กที่มีความมั่นใจจะเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น เผชิญกับความท้าทายตรงหน้า และเชื่อมั่นในตัวเองว่าจะเอาชนะอุปสรรคใดๆ ก็ตาม ที่ต้องเผชิญได้ เรามาดูเทคนิคง่ายๆ วิธีสอนลูกให้มั่นใจในตัวเอง ที่พ่อแม่สามารถช่วยให้ลูกเติบโตเป็นคนที่มีความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง 1. ทำให้ลูกรู้ว่า รักของแม่ไม่มีเงื่อนไข วิธีที่เราเห็นลูกของเรา หรือวิธีที่ลูกของเราเชื่อว่าเราเห็นพวกเขา มีผลอย่างมากต่อวิธีที่เขาเห็นตัวเอง บอกลูกว่าแม่รักและห่วงใยลูกเสมอ แม้ว่าเขาจะทำผิดพลาด หรือตัดสินใจผิดพลาดในเรื่องใดก็ตาม 2. ฝึกให้ลูกพูดกับตัวเองในเชิงบวก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มักจะพูดคุยในเชิงลบกับตัวเองว่า “ฉันทำไม่ได้” หรือ “ฉันไม่กล้า” “ฉันกลัวว่า____” ลองฝึกใช้คำพูดเชิงบวก เช่น “ฉันกล้าหาญ” “ฉันเข้มแข็ง” “ฉันเชื่อในตัวเอง” “ฉันจะทำให้ดีที่สุด” เปลี่ยนความกลัว เป็นพลังบวกสร้างกำลังใจให้กับตัวเองดีกว่า 3. มอบหมาย "งานพิเศษ" ที่เหมาะกับวัยให้ลูกช่วยทำ นอกจากงานบ้านแล้ว ให้มอบหมาย "งานพิเศษ" ให้ลูกช่วยทำ เพื่อให้ลูกรู้สึกว่า ตัวเองมีประโยชน์ มีความรับผิดชอบ และมีความสามารถ การใช้คำว่า “พิเศษ” ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจมากขึ้น งานพิเศษอาจรวมถึงการช่วยดูแลสัตว์เลี้ยงหรือช่วยเลี้ยงน้องตามความจำเป็น การเป็นลูกมือช่วยแม่ทำอาหาร รดน้ำต้นไม้ หรือแม้แต่การแต่งตัวเอง เป็นต้น 4. มีส่วนร่วมกับการเล่นของลูก และปล่อยให้เขาเป็นผู้นำ มีส่วนร่วมกับการเล่นของลูกเป็นการแสดงให้ลูกเห็นว่า เขามีความสำคัญและคู่ควรกับเวลาของคุณ วางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เลิกคิดเรื่องงาน หรือสิ่งรบกวนอื่นๆ และมุ่งความสนใจไปที่ลูกอย่างแท้จริง ให้ลูกได้เป็นผู้เริ่มหรือเลือกกิจกรรมและเป็นผู้นำได้ เมื่อพ่อแม่มีส่วนร่วมและดูเหมือนจะสนุกกับกิจกรรมที่ลูกเป็นผู้ชี้นำ เด็กจะรู้สึกมีค่าและประสบความสำเร็จ 5. เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดของลูก พ่อแม่คือตัวอย่างแรกและแบบอย่างที่ดีที่สุดของลูก เป็นพ่อแม่ที่มีความมั่นใจให้ลูกเห็น แม้ว่าบางเรื่องคุณอาจไม่มั่นใจก็ตาม พ่อแม่จำเป็นต้องปรับปรุงความมั่นใจของตัวเองเช่นกัน เริ่มต้นด้วยการพูดเชิงบวกเกี่ยวกับตัวคุณเองและผู้อื่นต่อหน้าลูก หลีกเลี่ยงการวิจารณ์ตัวเอง 6. ขอความคิดเห็นจากลูก การที่พ่อแม่ขอคำแนะนำหรือความคิดเห็นจากลูก (ในเรื่องที่เหมาะสมกับวัยของเขา) แสดงว่าพ่อแม่ให้คุณค่ากับเขาและแนวคิดของเขา วิธีนี้ยังช่วยให้เด็กสร้างความมั่นใจด้วยการแสดงให้เห็นว่า ผู้ใหญ่ยังต้องการความช่วยเหลือในบางครั้ง และการขอความช่วยเหลือก็ไม่เป็นไร 7. สร้างช่วงเวลาพิเศษร่วมกัน ความรักและการยอมรับเป็นองค์ประกอบสำคัญของความมั่นใจและคุณค่าในตัวเอง ดังนั้น พ่อแม่จึงควรใช้เวลาที่มีคุณภาพกับลูกเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีค่า พาเขาไปเที่ยว กินข้าวเย็นด้วยกัน เล่นเกม ออกไปข้างนอก หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้คุณและลูกได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างสนุกสนาน 8. สอนให้ลูกตั้งเป้าหมาย และไปให้ถึง การตั้งเป้าหมายและเอาชนะเป้าหมายที่ท้าทายและเป็นไปได้จริง ช่วยให้ลูกรู้สึกว่าเขามีความสามารถมากขึ้น เมื่อลูกทำสำเร็จ ให้ชื่นชมลูกทันทีอย่างจริงใจ และเน้นที่ความพยายามมากกว่าผลลัพธ์ 9. ชื่นชมความพยายามของลูกให้คนอื่นฟัง วิธีสอนลูกให้มั่นใจในตัวเอง อีกวิธีหนึ่งที่ง่ายและรวดเร็ว คือการ "บังเอิญ" ให้เขาได้ยินพ่อแม่ชื่นชมความสำเร็จและความพยายามอันยิ่งใหญ่ของเขาต่อผู้อื่น บางครั้งเด็กๆ มักจะไม่เชื่อเมื่อเราชมเขาโดยตรง แต่การได้ยินพ่อแม่พูดคำชมนี้ซ้ำๆ ให้คนอื่นฟังยิ่งทำให้เชื่อมากขึ้น และมีความหมายมากขึ้น 10. ห้ามเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบลูกกับพี่น้องหรือเด็กคนอื่นด้วยคำถาม เช่น “ทำไมลูกไม่ทำตัวเหมือนให้เหมือนลูกบ้านนั้น” หรือ “ดูว่าพี่สาวของเธอเรียนเก่งแค่ไหน! ทำไมลูกถึงทำอย่างนั้นไม่ได้” การเปรียบเทียบจะทำให้เด็กเกิดความสงสัยในตัวเอง เชื่อว่าเขาไม่สามารถทำให้พ่อแม่พอใจหรือทำตามความคาดหวังของพ่อแม่ได้ และสูญเสียความมั่นใจในที่สุด 11. ให้ลูกตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมตามวัย ให้เด็กตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมตามวัย เช่น จะใส่ชุดอะไร กินอะไรเป็นอาหารเช้า จะเล่นเกมอะไรหรือใช้สีอะไร ไปเที่ยวที่ไหน ฯลฯ ช่วยให้เด็กรู้สึกว่ามีความสามารถและมีพลัง 12. กระตุ้นให้ลูกลองทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาทักษะใหม่ๆ เด็กที่ขาดความมั่นใจมักจะไม่กล้าลองทำสิ่งใหม่ๆ หรือรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ กระตุ้นให้ลูกลองทำกิจกรรมใหม่ ๆ และพัฒนาทักษะใหม่ๆ อธิบายให้ลูกรู้ว่ามันคืออะไร เรากำลังจะทำอะไรกัน แม่ทำให้ดูก่อน แล้วจับมือลูกลองทำ เมื่อลูกเริ่มทำได้ก็ช่วยกันทำ จากนั้นค่อยๆ ปล่อยให้เขาทำเอง วิธีนี้ช่วยให้ลูกมั่นใจว่าพวกเขาสามารถรับมือกับทุกสิ่งที่เข้ามาได้ 13. ช่วยลูกเอาชนะความกลัว ความกลัวมักจะขัดขวางไม่ให้เด็กพยายามอย่างดีที่สุดและใช้ศักยภาพสูงสุดของตนเอง ซึ่งจะทำให้ความมั่นใจลดลง หากลูกกลัว บอกลูกว่าไม่เป็นไร ลูกกลัวได้ แม่จะอยู่เคียงข้าง คอยปลอบลูกเสมอ แต่หากลูกยังกลัว พ่อแม่รอได้ ให้เวลาลูกเรียนรู้และจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง

วิธีสอนลูกให้รักการเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก

7 วิธีสอนลูกให้รักการเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก

1. ช่วยลูกค้นหาความสนใจและหลงใหล วิธีหนึ่งในการจุดประกายความรักในการเรียนรู้คือ การช่วยให้ลูกค้นหาตัวตน และความสนใจของเขา เด็กจะเรียนรู้ได้ดี เมื่อได้ทำในสิ่งที่เขาสนใจ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพและช่วยพัฒนาเด็ก สังเกตและพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับสิ่งที่เขากำลังทำ อ่าน ดู และเรียนรู้ พาเขาไปสัมผัสประสบการณ์ต่างๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ ชมการแสดงละคร สวนสัตว์ ฯลฯ หรือลองทำแบบทดสอบความสนใจ กิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยพ่อแม่ค้นหาและจุดประกายความสนใจของลูกได้ 2. ปล่อยให้ลูกลงมือทำ เมื่อรู้แล้วว่าลูกสนใจอะไร ก็ช่วยหาข้อมูลเพิ่มเติมและทำให้การเรียนรู้น่าตื่นเต้นยิ่งขึ้น โดยการพาเขาไปลองเรียนรู้สัมผัสด้วยประสบการณ์ของตัวเอง การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริงนั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับเด็ก เมื่อเด็กได้เคลื่อนไหว สัมผัส และได้รับประสบการณ์ เขาจะเรียนรู้อย่างสนุกสนาน เช่น หากลูกของคุณกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์น้ำ ให้พาเขาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ถ้าเขากำลังสนใจศิลปินสักคน ให้พาเขาไปที่พิพิธภัณฑ์เพื่อดูผลงานของศิลปินคนนั้น 3. ทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุก เรื่องที่ดูเหมือนน่าเบื่อก็สามารถกลายเป็นเรื่องสนุกมากขึ้นได้เมื่อปรับรูปแบบการเรียนรู้ เช่น สอนผ่านเพลง เกมวิชาการ เกมล่าสมบัติ กิจกรรมสร้างสรรค์ BINGO เชิงวิชาการ หรือปริศนาอักษรไขว้ รวมไปถึงการทำโครงการศิลปะ ดนตรี หรืองานเขียนเชิงสร้างสรรค์เข้ากับหัวข้อวิชาการใดก็ได้ เช่น สร้างเพลงเกี่ยวกับวัฏจักรของน้ำ หรือเขียนเรื่องราวจากมุมมองของลูกอ๊อดในขณะที่กำลังแปลงร่างเป็นกบ หรืออาจสร้างแบบจำลองของระบบสุริยะโดยใช้วัสดุที่หาได้ในบ้านหรือในห้องเรียน หรือบางครั้งแค่ใช้อารมณ์ขัน เล่าเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่สอนก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่สนุกสนานขึ้น เมื่อลูกเริ่มเห็นว่าการเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกมากขึ้นและเครียดน้อยลง ความรู้สึกรักในการเรียนรู้ก็ค่อยๆ จะเติบโตขึ้น 4. เป็นพ่อแม่ที่รักในการเรียนรู้ พ่อแม่ควรสำรวจตัวเองเช่นกัน ว่าสนใจ หลงใหลในเรื่องอะไร และแสดงออกให้ลูกเห็น เช่น การทำอาหาร การถ่ายภาพ วรรณกรรม ฯลฯ พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับสิ่งที่พ่อแม่กำลังเรียนรู้ ความท้าทาย ความตื่นเต้น วิธีที่พ่อแม่นำสิ่งที่คุณเรียนรู้ไปใช้ในชีวิต การแสดงความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ของพ่อแม่จะช่วยปลูกฝังความหลงใหลแบบเดียวกันนี้ให้กับลูก 5. ค้นหาสไตล์การเรียนรู้ที่เหมาะกับลูก เด็กมีสไตล์การเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง หรือรูปแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของแต่ละคน นักจิตวิทยาได้ระบุรูปแบบการเรียนรู้หลัก 3 รูปแบบ ได้แก่ การเรียนรู้ผ่านการมองเห็น การได้ยิน และการเคลื่อนไหวร่างกาย - เด็กที่ชอบเรียนรู้ผ่านการมองเห็น จะประมวลผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อนำเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นรูปภาพ เด็กกลุ่มนี้มีลักษณะช่างสังเกต มีความจำที่ยอดเยี่ยม และมักจะชอบงานศิลปะ - เด็กที่ชอบเรียนรู้ผ่านการได้ยิน ชอบที่จะรับข้อมูลผ่านการฟัง เด็กกลุ่มนี้เป็นผู้ฟังที่ดี ปฏิบัติตามคำสั่งได้ดี และมักมีจุดแข็งด้านการพูด และ/หรือความถนัดด้านดนตรี - เด็กที่ชอบเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวร่างกาย มักเก่งด้านกีฬาหรือเต้นรำ เด็กกลุ่มนี้เรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการเคลื่อนไหวและการสัมผัส ชอบนับนิ้วหรือใช้ภาษาท่าทางบ่อยๆ หาจุดเด่นของลูกว่าเด่นในการเรียนรู้แบบไหน และส่งเสริมในทางที่เหมาะกับเขา จะช่วยให้เขาเรียนรู้ในแบบที่เขารู้สึกสบายใจและสนุกสนานที่สุด 6. พูดคุยและรับฟัง การให้ความสนใจกับคำถามที่ลูกถามอาจช่วยให้ค้นพบความสนใจของเขาได้ เมื่อลูกแสดงสนใจด้วยการถามคำถาม พยายามตอบคำถามนั้นให้ดีที่สุด แม้ว่าคำถามจะนอกประเด็นไปบ้าง แต่พ่อแม่ก็ควรแสดงความสนใจและสร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้กับลูก หากพ่อแม่ไม่ทราบคำตอบ ชวนลูกมาค้นหาคำตอบไปด้วยกัน เป็นการสร้างประสบการณ์ที่สนุกและน่าจดจำได้อีกทางหนึ่ง พูดคุยด้วยการถามคำถามปลายเปิด เช่น "ทำไม" "อย่างไร" หรือ "จะเกิดอะไรขึ้นถ้า….?" คำถามเหล่านี้สามารถนำเด็กไปสู่ระดับการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาในระดับที่สูงขึ้นอีกด้วย 7. สนับสนุนและให้กำลังใจ เหตุผลหนึ่งที่เด็กมักจะสูญเสียความรักในการเรียนรู้ เมื่อเขาเริ่มเชื่อมโยงการเรียนรู้กับความวิตกกังวลและความกดดัน ทำให้เขากังวลว่าจะได้เกรดไม่ดี ตอบคำถามผิด หรือสอบตก เมื่อการเรียนรู้เป็นเรื่องของผลลัพธ์เท่านั้น การเรียนรู้ก็จะไม่สนุกอีกต่อไป สิ่งสำคัญคือต้องสอนเด็กๆ ว่าความสำเร็จไม่ได้เกิดจากความสามารถที่มีมาแต่กำเนิด เช่น "ความฉลาด" ความสำเร็จมาจากความพากเพียร การฝึกฝน การทำงานหนัก และความล้มเหลว

โตไปไม่เอาไหนเพราะวางเป้าหมายไม่เป็น

คุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าการตั้งเป้าหมายเป็นเรื่องยากสำหรับลูก แต่ความจริงแล้วการตั้งเป้าหมายสามารถฝึกลูกได้ตั้งแต่เล็ก เริ่มจากเป้าหมายง่ายๆ ในกิจวัตรประจำวันของลูก เช่น ฝึกลูกเก็บที่นอนเอง (พับผ้าห่ม ดึงผ้าปูที่นอนให้ตึง) ให้เขาได้ทำเอง (ไม่ต้องเรียบร้อยมากก็ได้ แต่ให้เขารู้สึกได้ทำเต็มที่)

เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็จริง แต่พอทำได้ ลูกจะรู้สึกมั่นใจในตัวเองทุกวัน และเป็นธรรมชาติที่เขาอยากจะทำเรื่องที่ยากกว่านี้อีกเรื่อยๆ เป็นเหมือนความท้าทายเล็กๆ ของเขา คือเกิด self esteem ในตัวเอง

หรืออาจลองตั้งเป้าหมายในเชิงแข่งขัน (เหมือนแข่งกับคนอื่น แต่ความจริงเราสอนให้ลูกให้ค่ากับการแข่งกับตัวเองมากกว่า)

เช่น ลูกอยากลงแข่งวิ่งในงานกีฬาสีโรงเรียน ก็ต้องให้กำลังใจเขา และฝึกให้ลูกหมั่นฝึกซ้อมหลังกลับจากโรงเรียน 

แต่อย่ากดดันว่า ‘ต้องชนะให้ได้’ สอนให้ลูกเข้าใจว่าที่สำคัญที่สุดคือ “ความพยายาม” ไปสู่เป้าหมาย หมั่นฝึกซ้อมให้เต็มที่มากกว่า ผลลัพธ์จะแพ้หรือชนะก็ไม่เป็นไร

ชื่นชมเขาที่มีความพยายามและตั้งใจฝึกซ้อมทุกครั้ง เท่านี้ก็เป็นการฝึกให้ลูกมี EF รู้จักตั้งเป้าหมาย ไม่เครียดหรือกดดันเกินไป ได้สร้างทั้ง EQ และ self esteem ด้วย

ป๋องแป๋ง ชุดหนูทำได้

นิทานภาพคำกลอนชุดนี้ ฝึกลูกให้มีน้ำใจนักกีฬารู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย แก้ปัญหาลูกท้อง่าย ไม่มีความอดทน ตื่นกลัว ไม่มั่นใจในตนเอง ไม่กล้าเรียนรู้ลองทำสิ่งใหม่ 

แก้ปัญหาลูกชอบพูดคำหยาบ

3 เทคนิคแก้นิสัยลูกพูดคำหยาบ ทำง่าย ได้ผลชัวร์

เด็กเล็กๆ ไม่ได้อยู่ดีๆ จะพูดคำหยาบได้เอง จุดเริ่มต้นมาจากเขาได้ยินได้ฟังแล้วนำมาพูดตาม เราจะพบบ่อยๆ เมื่อเด็กเริ่มเข้ากลุ่มเพื่อน เช่น เริ่มไปโรงเรียน ดูจากทีวี หรือคนรอบข้างพูด การแก้พฤติกรรมพูดไม่สุภาพของลูกจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยากค่ะ เริ่มต้นจากวิธีดังต่อไปนี้

1. พ่อแม่เป็นตัวอย่างให้ลูก เพราะเด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมจากคนใกล้ตัวของเขา และแน่นอนว่าคนนั้นก็คือพ่อแม่นั่นเอง อยากให้ลูกพูดเพราะพ่อแม่ก็ต้องพูดเพราะก่อนค่ะ

2. หลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกดูทีวี โดยเฉพาะในเด็กเล็กมากๆ ไม่ควรให้ดูทีวี หรือคลิปต่างๆ ในโซเชียล เพราะง่ายมากที่ลูกจะได้ยินคำพูดหยาบคาย รวมถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แต่ถ้าจำเป็นต้องดูพ่อแม่ควรอยู่กับลูกด้วย เมื่อได้ยินคำไม่สุภาพก็อธิบายง่ายๆ ให้ลูกรู้ว่าไม่ควรพูดคำนั้น เพราะจะดูไม่น่ารัก ไม่มีใครชอบ

3. ตั้งกติกาไม่พูดคำหยาบ อาจทำเป็นข้อตกลงสนุกๆ ไม่ดูจริงจังจนเกินไป แต่ต้องปฏิบัติเคร่งครัด ว่าทุกคนในบ้านจะไม่พูดคำหยาบ ใครเผลอพูดจะถูกลงโทษ เช่น งดขนม 1 มื้อ งดออกไปเล่นนอกบ้าน 1 วัน หรืองดเล่นของเล่นช่วงเย็น เป็นต้น จุดประสงค์ของการลงโทษก็เพื่อให้ระวังมากขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องลงโทษรุนแรง

สิ่งสำคัญที่สุดที่ช่วยหยุดพฤติกรรมพูดคำหยาบของลูกก็คือ พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการพูดให้ลูกนั่นเอง

(ขอบคุณภาพประกอบจาก freepik.com)

ป๋องแป๋งพูดไม่เพราะ

นิทานภาพคำกลอน สอนให้ลูกพูดจาไพเราะ สุภาพไม่พูดคำหยาบ พร้อมวิธีหยุดพฤติกรรมลูกพูดคำหยาบ และวิธีสอนลูกให้พูดเพราะในท้ายเล่ม

แก้นิสัยเอาแต่ใจด้วย time out

วิธีจัดการลูกอาละวาด ด้วย Time out และการควบคุมอารมณ์

ลูกร้องดิ้นพราดๆ กรี๊ด เตะ ต่อย ขว้างของ จะเอาให้ได้ วิธีที่ดีที่สุดคือ time out หรือเอาลูกออกจากบริเวณนั้น แล้วหามุมสงบ เป็นส่วนตัวให้ลูกนั่ง แม่นั่งด้วย แล้วบอกเขาว่า “ลูกเงียบเมื่อไหร่แม่จะกอด”

วิธีนี้ใช้หลักสำคัญคือ แม่เงียบ ลูกเงียบ บรรยากาศรอบตัวสงบ ระหว่างรอแม่ไม่ตี ไม่บ่น ไม่ดุ ไม่สอน ไม่ต้องอธิบายเหตุผล แค่รอเฉยๆ อย่างสงบ พฤติกรรมแย่ๆ นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่จะถูกจับคู่กับความเงียบ และลูกจะเรียนรู้ได้เอง ทำซ้ำทุกครั้งที่เกิดเหตุ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์จะหายไปและได้ผลเสมอ

การใช้นิทานช่วยปลูกฝัง EQ ของลูกก็เป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะเด็กซึมซับได้ง่าย
และชอบทำเลียนแบบพฤติกรรมตัวละครในนิทานที่เขาชอบ

การใช้วิธี time out นั้นต้องทำอย่างสม่ำเสมอและอดทน โดยเฉพาะในช่วงแรกที่เด็กอาจยังไม่คุ้นชินกับวิธีการนี้ พ่อแม่สามารถเสริมด้วยวิธีการอื่นๆ ได้ดังนี้:

  1. ใช้นิทานเป็นสื่อในการสอน
  • เลือกนิทานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์
  • อ่านนิทานให้ลูกฟังก่อนนอนเป็นประจำ
  • พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับพฤติกรรมของตัวละครในนิทาน
  1. สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
  • จัดมุมสงบในบ้านสำหรับให้ลูกได้ผ่อนคลาย
  • เตรียมของเล่นที่ช่วยระบายอารมณ์ เช่น ดินน้ำมัน บล็อกไม้
  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอารมณ์โมโห
  1. สอนวิธีจัดการอารมณ์
  • ฝึกการหายใจลึกๆ เมื่อรู้สึกโกรธ
  • สอนให้รู้จักพูดบอกความรู้สึก แทนการแสดงออกรุนแรง
  • ชมเชยทุกครั้งที่ลูกสามารถควบคุมอารมณ์ได้
  1. เป็นแบบอย่างที่ดี
  • ควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้ได้
  • แสดงให้ลูกเห็นวิธีจัดการกับความรู้สึกโกรธอย่างเหมาะสม
  • พูดคุยกับลูกด้วยน้ำเสียงสงบเสมอ

สิ่งสำคัญคือความสม่ำเสมอและความอดทนของพ่อแม่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต้องใช้เวลา แต่ถ้าทำอย่างต่อเนื่อง ลูกจะค่อยๆ เรียนรู้วิธีจัดการอารมณ์ที่ดีขึ้น และเติบโตเป็นเด็กที่มี EQ ดี สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้อย่างเหมาะสม


ป๋องแป๋ง ชุดควบคุมอารมณ์
นิทานภาพคำกลอนชุดนี้ สอนให้ลูกรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองตั้งแต่เล็ก  เป็นพื้นฐานสำคัญของการแสดงออกอย่างเหมาะสมเมื่อโตขึ้น  

   

เหตุผลที่นิทานสร้างสายใยรัก

เหตุผลที่นิทานสร้างสายใยรัก

ควรอ่านนิทานให้ลูกฟังตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์

ความรักที่ถ่ายทอดผ่านเส้นเสียงและสัมผัสอ่อนโยนขณะลูบท้องเบาๆ

จะช่วยให้ลูกรับรู้ถึงความรักได้ ความสุขจากสัมผัสของแม่

จะช่วยลดฮอร์โมนความเครียด ทำให้ลูกโตขึ้นเป็นเด็กเลี้ยงง่าย อารมณ์แจ่มใส

การอ่านนิทานยังช่วยกระตุ้นและพัฒนาสมองของลูกด้วย

 

นอกจากนี้ การอ่านนิทานให้ลูกฟังยังมีประโยชน์มากมาย ดังนี้:

  1. พัฒนาทักษะการฟังและภาษา
  • ได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ
  • เข้าใจการเรียงประโยค
  • ฝึกสมาธิในการฟัง
  • พัฒนาจินตนาการจากเรื่องราวในนิทาน
  1. สร้างความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก
  • เป็นช่วงเวลาพิเศษที่ได้อยู่ด้วยกัน
  • สร้างความอบอุ่นและความไว้วางใจ
  • เปิดโอกาสให้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  • สร้างความทรงจำที่ดีร่วมกัน
  1. ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่ดี
  • เรียนรู้ผ่านตัวละครในเรื่อง
  • เข้าใจผลของการกระทำต่างๆ
  • ซึมซับแง่คิดและข้อคิดจากนิทาน
  • พัฒนา EQ ผ่านการเข้าใจอารมณ์ของตัวละคร
  1. เตรียมความพร้อมด้านการอ่าน
  • สร้างทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน
  • เรียนรู้การจับหนังสือ พลิกหน้า
  • เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาพและคำ
  • กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น

พ่อแม่ควรทำให้การอ่านนิทานเป็นกิจวัตรประจำวัน เช่น อ่านก่อนนอนทุกคืน สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ไม่เร่งรีบ และให้ลูกมีส่วนร่วม เช่น ให้เลือกนิทานเอง ช่วยพลิกหน้า หรือเล่าเรื่องตามจินตนาการของตัวเอง การอ่านนิทานจึงไม่เพียงแต่สร้างความสนุกสนาน แต่ยังเป็นการวางรากฐานที่สำคัญสำหรับพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกอีกด้วย

เล่นสมมติได้ประโยชน์กว่าที่คิด

เล่นสมมติได้ประโยชน์กว่าที่คิด

เล่นสมมุติ ได้ประโยชน์กว่าที่คิด!

“เด็กขวบครึ่ง-3 ขวบจะมีพัฒนาการภาษาเร็วมากจากการเล่นสมมุติ”

คุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์เคยเขียนแนะนำไว้

ระหว่างที่เล่นสมมุติ เด็กจะเกิดการคิดเชื่อมโยง

ใช้ความคิดหนึ่งแทนความคิดหนึ่ง

สมมุติว่าใบไม้เป็นจาน สมมุติว่าทรายเป็นข้าว ฯลฯ

ระหว่างเล่นกันก็พูด ปฏิสัมพันธ์กัน ใช้คำศัพท์

เด็กที่ได้เล่นสมมุติบ่อยๆ จึงพัฒนาภาษาเร็วมากนั่นเอง

 

มาเริ่มเล่นบทบาทสมมุติง่ายๆ กับลูก

ด้วยหนังสือบอร์ดบุ๊ค #ชุดหน้ากากแสนสนุก 3 เล่ม

ใส่หน้ากากสมมุติเป็น…สัตว์น้อยน่ารัก เจ้าหญิง เจ้าชาย

หุ่นยนต์ ไดโนเสาร์ ฯลฯ พัฒนาการทักษะสมอง EF

ด้านจำเพื่อใช้งาน (Working Memory)

และคิดยืดหยุ่น (Shift/Cognitive Flexibility)

 

การเล่นสมมุติไม่เพียงช่วยพัฒนาภาษาเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์หลายด้าน ดังนี้:

  1. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  • ฝึกจินตนาการผ่านการแสดงบทบาทต่างๆ
  • เรียนรู้การใช้สิ่งของรอบตัวอย่างสร้างสรรค์
  • สร้างเรื่องราวและสถานการณ์ใหม่ๆ จากจินตนาการ
  1. เสริมสร้างทักษะทางสังคม
  • เรียนรู้การแบ่งปันและรอคอย
  • ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • เข้าใจบทบาทและหน้าที่ในสังคม
  1. พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา
  • ฝึกคิดแก้ไขสถานการณ์ในการเล่น
  • เรียนรู้การจัดการกับความขัดแย้ง
  • พัฒนาความยืดหยุ่นทางความคิด
  1. การใช้นิทานประกอบการเล่นสมมุติ

พ่อแม่สามารถส่งเสริมการเล่นสมมุติได้โดย:

  • จัดเตรียมอุปกรณ์ง่ายๆ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน หน้ากาก
  • ร่วมเล่นและแสดงความสนใจในการเล่นของลูก
  • ให้อิสระในการคิดและจินตนาการ
  • ชมเชยเมื่อลูกแสดงความคิดสร้างสรรค์

การเล่นสมมุติจึงเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า ช่วยพัฒนาทักษะรอบด้านให้กับเด็ก และควรส่งเสริมให้เด็กได้เล่นอย่างสม่ำเสมอ

ลูกเล่นมือถือ ติดทีวี ไม่ดีตรงไหน

ลูกเล่นมือถือ ติดทีวี ไม่ดีตรงไหน

ลูกเล่นมือถือ ติดทีวี ไม่ดีตรงไหน?

คงต้องยอมรับกันว่า เด็กยุคนี้เกิดมาก็เจอมือถือ แท็บเล็ตแล้ว แค่ขวบกว่าๆ ก็ปาดหน้าจอจิ้มเล่นเก่งกว่าคุณยายคุณย่าเสียอีก แล้วไม่ดีตรงไหนนะ?

.

สำหรับพ่อแม่ที่เคยให้ลูกเล่นสิ่งเหล่านี้คงพบว่า เด็กจะอยู่นิ่งๆ เล่นเกมหรือดูทีวีได้นานๆ ไม่งอแง ไม่ไปวิ่งเล่นให้พ่อแม่ปวดหัวด้วย อย่างนี้ไม่ดีเหรอคะ? เป็นวิธีเลี้ยงลูกที่ทันสมัย ไม่ตกยุค แถมไม่ต้องเหนื่อยมากด้วย

.

มองเผินๆ ก็น่าจะดีแบบนั้น แต่ถ้าวิเคราะห์ให้ลึกเราจะพบสาเหตุว่าทำไมนักวิชาการจึงไม่สนับสนุนให้เด็กเล็กใช้มือถือ แท็บเล็ต หรือปล่อยให้เด็กดูทีวีนานๆ ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

.

เวลาลูกเล่นเกม เด็กจะจดจ่อกับเกมไม่ทำอย่างอื่น ไม่พูดคุย ไม่วิ่งเล่น ไม่เข้าสังคมกับใคร ยิ่งถ้าเล่นจนติด หากพ่อแม่ขัดใจไม่ให้เล่นก็จะร้องไห้ อารมณ์เสีย เอาแต่ใจ แน่นอนว่ามีผลเสียต่อพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ ภาษา สังคม และสติปัญญา ยังไม่นับเกมที่ใช้ความรุนแรงประเภทเตะต่อย ยิง ระเบิด เลือดสาด ลูกก็จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวแถมมาให้ด้วย

.

ส่วนการนั่งดูทีวีนานๆ บ่อยๆ จะทำให้ลูกมีแนวโน้มสมาธิสั้นได้ง่าย เพราะคุ้นชินกับภาพและเรื่องราวที่เปลี่ยนไปมารวดเร็วบนหน้าจอ เด็กเล็กวัย 0-4 ปี ยังไม่สามารถแยกแยะว่าเรื่องใดจริงเรื่องใดสมมุติ เขาจะเชื่อภาพที่เห็นในจอทีวีทุกอย่างว่าเป็นเรื่องจริงและชอบทำตาม ถ้าในทีวีมีการพูดคำหยาบ ตบตี ร้องกรี๊ด พฤติกรรมไม่ดี หรือโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง ก็มีโอกาสเสี่ยงสูงที่เด็กจะถูกบ่มเพาะและเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านั้น

.

กิจกรรมที่พ่อแม่ควรทำสำหรับลูกวัยนี้ก็คือ การกระตุ้นการเรียนรู้แบบบ้านๆ ง่ายๆ ไม่ต้องไฮเทคไฮโซเทคโนโลยีใดๆ อย่างเช่น การวิ่งเล่นกับเพื่อน วาดรูป ระบายสี อ่านนิทาน ร้องเพลง ฯลฯ เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่สามารถทำร่วมกับลูกได้ ไม่เพียงช่วยกระตุ้นพัฒนาการ แต่เด็กยังจะได้รับความรักความอบอุ่น เพิ่มความมั่นคงในจิตใจเมื่อเติบโตขึ้น

เรียบเรียง : พี่คิดส์ซี่

อย่าติดจอนะป๋องแป๋ง

Activity Book ประกอบนิทานแสนสนุก เรียนรู้การใช้เวลาอยู่หน้าจออย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้เล่น หรือทำกิจกรรมสนุกอย่างอื่นแทน สำหรับเด็กปฐมวัย สนุกกับกิจกรรมภายในเล่ม พร้อมสติ๊กเกอร์แสนน่ารัก เสริมทักษะ EF

ป๋องแป๋งติดจอ

นิทานภาพคำกลอน สอนลูกให้ใช้เวลาอยู่หน้าจออย่างเหมาะสมเปลี่ยนลูกติดหน้าจอให้เป็นเด็กติดกิจกรรมแทน

เรื่องเล่น…ไม่ใช่เล่นๆ

เรื่องเล่น...ไม่ใช่เล่นๆ

เรื่องเล่น…ไม่ใช่เล่นๆ

เวลาลูกเล่นซน พ่อแม่หลายคนคงปวดหัวไม่น้อย 
อาจมีเผลอบ่นแบบนี้กันบ้าง 
“อย่าเล่น…อยู่เฉยๆ สิจ๊ะ“
“ไม่เอา! ห้ามซนนะลูก“
แต่เด็กๆ กับการเล่นเป็นของคู่กัน คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมว่า “การเล่น” ก็คือการเรียนรู้ตามธรรมชาติของสมองมนุษย์ที่วิเศษมากๆ แทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย
การเล่นทำให้สมองส่วน Cerebral Cortex หรือ สมองใหญ่ ทำงานได้ดี และจากงานวิจัยก็พบว่าวิธีกระตุ้นให้สมองส่วนนี้เปิดรับข้อมูลอย่างเต็มที่ก็คือ สร้างอารมณ์ด้านบวก เช่น สนุกสนาน มีความสุข ยิ้ม หัวเราะ เพลิดเพลิน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กๆ “เล่น“ นั่นเอง

ส่วนจะเล่นแบบไหน พี่คิดส์ซี่มีวิธี “เล่นคือเรียน เรียนคือเล่น” มาฝากกันค่ะ ง่ายมาก สนุกมาก เงินไม่ต้องใช้ ใช้แค่เวลา ความรัก ความเอาใจใส่ก็พอค่ะ

เล่นกับธรรมชาติ

นี่เลยค่ะ เล่นกับพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน สัตว์เลี้ยงดิน หิน ทราย น้ำ ต้นไม้ ฯลฯ ใกล้ตัวเรานี่แหละ

เล่นกับของจริง

เช่น ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ ถ่ายรูป ปั้นดินเหนียวเป็นรูปต่างๆ งานฝีมือ ฯลฯ

เล่นกับงานบ้าน

เช่น ถูบ้าน กวาดบ้าน ล้างตู้ปลา อาบน้ำสุนัข ช่วยพ่อซ่อมจักรยาน ฯลฯ

เล่นกับสถานการณ์จริง

ทำการ์ดอวยพรวันเกิดให้เพื่อน ทำของขวัญปีใหม่ วาดการ์ตูนให้เพื่อน

จดไดอารี่ประจำวัน ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีการเล่นอีกเยอะแยะ เช่น เล่นกีฬา เล่นดนตรี ท่องเที่ยว เล่นบทบาทสมมุติ ฯลฯ เลือกที่ชอบกันได้เลยค่ะ!
*** ข้อมูล : หนังสือเล่นตามรอยพระยุคลบาท

บ้านต้นไม้ของปิงปิง

การสอนลูกให้รู้จักรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น ไม่ควบคุมคนอื่น ในขณะเดียวกันก็ยังมีความมั่นใจ กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น เป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรปลูกฝังให้ลูกวัยนี้ นิทานภาพคำกลอน สอนผ่านกิจวัตรประจำวัน เช่น การเล่น การช่วยงาน การทำกิจกรรมเป็นทีม นิทานเสริมทักษะEF นิทานเด็กอนุบาล หนังสือสำหรับเด็ก 0-6 ปี

ขนมครกของปิงปิง

เพียงแค่คลิกนิ้ว ความสะดวก รวดเร็ว ก็มารออยู่ตรงหน้า เด็กยุคนี้จึงไม่ต้องอดทน หรือใช้ความพยายามใด ๆ มากนัก จนคุ้นชินกลายเป็นนิสัยรักสบาย เมื่อพบอุปสรรคแม้เพียงเล็กน้อย ก็ถอดใจ ไม่ต่อสู้ ถึงล้มเลิกกลางคัน ซึ่งส่งผลเสียไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ นิทานภาพคำกลอนเล่มนี้ ปลูกฝังให้ลูกมีความพยายาม ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน มุ่งมั่นจนสำเร็จ นิทานเสริมทักษะEF นิทานเด็กอนุบาล หนังสือสำหรับเด็ก 0-6 ปี