Author Archives: Passcation Admin

เริ่มอ่านหนังสือกับลูกเมื่อไรอย่างไร

เริ่มอ่านหนังสือกับลูกเมื่อไรอย่างไร

จะอ่านนิทานเล่มแรกให้ลูกฟังได้เมื่อไหร่

ว่าที่คุณแม่มือใหม่สงสัยกันมาก

ว่าจะเริ่มอ่านนิทานให้ลูกฟังได้เมื่อไหร่

เพราะลูกยังเล็กมาก…

ตามหลักการแพทย์คือ อ่านได้ตั้งแต่ลูกอยู่ในท้อง

น้ำเสียงและสัมผัสหน้าท้องที่อ่อนโยนของแม่

จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการสมองและอารมณ์ของลูก

ต่อเนื่องมาถึงหลังคลอด ถ้าอ่านนิทานให้ลูกฟังประจำ

จะช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะภาษาได้ดีและเรียนรู้ได้เร็ว

 
หนังสือที่เหมาะกับเด็กทารกและเด็กเล็กควรมีคำสั้นๆ ยิ่งเป็นคำกลอนง่ายๆ ยิ่งเหมาะเวลาอ่านจะมีเสียงสูงต่ำจะช่วยกระตุ้นความสนใจ และทำให้ลูกจำได้ง่าย เด็กเล็กจึงมักพูดตามนิทานได้ทั้งเล่มแม้จะฟังเพียงไม่กี่ครั้ง เป็นวิธีกระตุ้นพัฒนาการสมองตามธรรมชาติที่ไม่ต้องลงทุนหรือใช้เทคโนโลยีอะไรเลย

 
นิทาน Bookstart  หนังสือเล่มแรกของลูก

เป็นคำกลอนง่ายๆ สร้างสายสัมพันธ์รักพ่อแม่ลูก

และพัฒนาทักษะภาษา เริ่มจาก 3 คำพื้นฐาน

สวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ

เมื่อไหร่ลูกควรเล่นมือถือหรือโซเชียล

เมื่อไหร่ลูกควรเล่นมือถือหรือโซเชียล

เมื่อไหร่ลูกควรเล่นมือถือหรือโซเชียล?
ตอบแบบเจาะจงยาก แต่ผลวิจัยทั่วโลกระบุตรงกันว่า ต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรให้ลูกดูหน้าจอนานๆ ทุกวัน จะส่งผลเสียต่อพัฒนาการแน่นอน แล้วจะให้ลูกเล่นมือถือ/โซเชียลเมื่อไหร่…


ตอบได้กว้างๆ คือ ต้องมีสิ่งต่อไปนี้ก่อน ควบคุมตัวเองได้ เช่น ทำการบ้านเสร็จก่อน อาบน้ำเสร็จก่อน กินข้าวเสร็จก่อน ฯลฯ หลักคือ สามารถทำเรื่องไม่สนุกให้เสร็จก่อนค่อยเล่นได้ นั่นคือ มีความอดทนทำเรื่องไม่สนุกจนเสร็จได้ รู้จักวางแผนงาน (ทำอย่างไรให้เสร็จเร็วๆ จะได้ไปเล่น) มีความรับผิดชอบประมาณหนึ่ง (ถ้าไม่ทำ จะถูกดุ ไม่ได้กินขนม)

สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่อยู่ดีๆ ลูกจะมีได้ โดยพ่อแม่พูดสอนครั้งสองครั้ง แต่ลูกจะได้จากการเล่น พ่อแม่อ่านนิทานให้ฟัง ลูกอ่าน (ดู) เอง ให้ลูกช่วยงานบ้าน ใช้เวลาอยู่กับลูกมากพอ

ถ้าลูกมีสิ่งเหล่านี้ก็เป็นสัญญาณดีที่พ่อแม่ควรให้ลูกใช้มือถือหรือโซเชียลได้ แต่แน่นอน ไม่ปล่อยให้เขาเล่นตามลำพัง พ่อแม่ต้องคอยกำกับแนะนำ มีเป้าหมายจะใช้เพื่ออะไร หาข้อมูล ดูการ์ตูน ดูรูปสัตว์ ฯลฯ และกำหนดเวลาใช้ชัดเจน เช่น 30 นาทีไม่เกินนี้ต่อวัน หลังจากนั้นก็ควรพาไปเล่น ช่วยงานบ้าน อ่านหนังสือให้ฟังมากกว่าอยู่ดี

(ขอบคุณภาพประกอบจาก freepik.com)

ป๋องแป๋งติดจอ

นิทานภาพคำกลอน สอนลูกให้ใช้เวลาอยู่หน้าจออย่างเหมาะสมเปลี่ยนลูกติดหน้าจอให้เป็นเด็กติดกิจกรรมแทน

อย่าติดจอนะป๋องแป๋ง

Activity Book ประกอบนิทานแสนสนุก เรียนรู้การใช้เวลาอยู่หน้าจออย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้เล่น หรือทำกิจกรรมสนุกอย่างอื่นแทน สำหรับเด็กปฐมวัย สนุกกับกิจกรรมภายในเล่ม พร้อมสติ๊กเกอร์แสนน่ารัก เสริมทักษะ EF

เทคนิคให้ลูกรักเลิกติดขวดนม

เทคนิคให้ลูกรักเลิกติดขวดนม

หลังจากอายุครบ 6 เดือนขึ้นไป เด็กจะมีพัฒนาการที่สามารถดื่มนม ดื่มน้ำจากแก้วได้ดีขึ้นเรื่อยๆ และจะถือแก้วได้ดีตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แต่เด็กบางคนยังติดขวดนมไม่ยอมเลิกเสียที วันนี้พี่คิดส์ซี่มีเทคนิคดีๆ ช่วยให้ลูกเลิกติดขวด หันมาใช้แก้วแทนมาแนะนำกันค่ะ

.
1. ใช้ถ้วยแทนขวดนม ให้ลูกลองหัดดื่มจากถ้วย อาจเริ่มจาก 1 ครั้งใน 1 สัปดาห์ ลองให้เด็กเลือกถ้วยที่ชอบเอง การใช้ถ้วยจะทำให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมือไปด้วย โดยในช่วงแรกอาจใช้ถ้วยแบบมีฝาปิดเพื่อกันนมหก เมื่อลูกเริ่มใช้คล่องจึงเปลี่ยนเป็นถ้วยแบบธรรมดา

.2. เปลี่ยนรสนมในขวดให้เด็กไม่คุ้น โดยเจือจางนมทีละน้อย ทำบ่อยครั้ง (คุณแม่สายโหดบางคนใช้วิธีเติมมะนาวลงในนม) เด็กจะรู้สึกไม่อร่อย แล้วฝึกให้ลูกกินนมปกติจากแก้วแทน

3. ใช้เหตุผล วิธีนี้เหมาะสำหรับลูกที่รู้ความแล้ว อธิบายให้เด็กฟังว่าถึงเวลาที่ต้องเลิกใช้ขวดนมแล้ว ไม่เช่นนั้นจะขาดสารอาหาร ฟันยื่น ฟันผุ โดนเพื่อนที่โรงเรียนอนุบาลล้อ เล่านิทานเกี่ยวกับการเลิกดูดขวดนมเพื่อจูงใจให้เด็กอยากเลิก

.4. เก็บอุปกรณ์ทุกอย่างที่เกี่ยวกับนมออกจากบ้าน วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กที่กำลังเลิกแล้ว แต่อาจยังใช้ขวดนมบ้างวันละ 1-2 ครั้ง

เทคนิคสำคัญอีกข้อคือ คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมชมลูกว่า ‘เก่ง’ ด้วยนะคะ เมื่อเขาทำได้

 

ป๋องแป๋งบ๊ายบายขวดนม

นิทานภาพคำกลอน แก้ปัญหาลูกติดขวดนม ซึ่งส่งผลเสียต่อฟันผุ พันเหยิน มีปัญหาพูดไม่ชัด และเสี่ยงต่อภาวะโรคอ้วน

เทคนิคแก้นิสัยลูกเอาแต่ใจ

เทคนิคแก้นิสัยลูกเอาแต่ใจ

บ้านไหนเจอปัญหาลูกถูกขัดใจทีไรก็ร้องกรี๊ดโวยวายลั่นบ้านบ้างคะ พ่อแม่หลายท่านคงปวดหัวไม่น้อยเมื่อต้องมารบกับเจ้าตัวเล็กเช่นนี้ วิธีรับมือให้อยู่หมัดทำได้ไม่ยากเลยค่ะ ที่สำคัญพ่อแม่ต้องไม่ยอมใจอ่อน เมื่อเห็นลูกแสดงอาการต่อต้าน  มีอะไรบ้างมาดูกันเลย

1. หากลูกอาละวาด ลงไปชักดิ้นชักงอกับพื้น หรือกระโดดกระทืบเท้าเต้นเร่าๆ พ่อแม่ต้องนิ่งไว้ ไม่ใช้อารมณ์ตอบโต้ ให้เขาร้องไห้จนเหนื่อยแล้วสักพักจะหยุดได้เอง สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ กอดลูกไว้ ไม่ต้องดุด่า ถ้าเขาร้องเพราะถูกขัดใจ ควรหากิจกรรมอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจให้เด็กลืม

 
2. สอนลูกให้รู้จักรอ เพราะเด็กเล็กคุ้นชินกับการถูกตามใจมาตั้งแต่เป็นทารก เมื่อถูกขัดใจก็จะร้องไห้และทำต่อๆ มาจนโต ถ้าพ่อแม่ตามใจ จัดหาทุกอย่างให้ได้ทันใจเขา เด็กจะกลายเป็นคนที่รออะไรไม่ได้ ถ้าถูกคนอื่นขัดใจก็จะแสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารักออกมา

 
3. พ่อแม่ต้องมีความมั่นคงทางอารมณ์ เพราะเด็กจะเรียนรู้พฤติกรรมจากผู้ใหญ่ เช่น ถ้ารู้ว่าร้องไห้แล้วจะได้ของเล่น ร้องไห้แล้วได้ไปเที่ยว ในครั้งต่อๆ ไป เขาก็จะทำแบบเดิมอีก พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการควบคุมอารมณ์ หากเด็กกำลังอาละวาด อย่าเพิ่งทำโทษเขา ควรคุยหลังจากเด็กสงบแล้ว โดยใช้คำพูดที่สุภาพ เมื่อเด็กโตขึ้นเขาจะได้รู้จักจัดการกับอารมณ์ของตนเองและแสดงออกกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม

 
4. ให้ลูกเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตนเองในเรื่องง่ายๆ เช่น ใส่เสื้อผ้า กินข้าว เก็บจานข้าว ถือกระเป๋านักเรียน ฯลฯ เด็กจะได้มีความรับผิดชอบและรู้หน้าที่ของตนเอง

 
5. สร้างกฎ กติกา กำหนดข้อตกลงให้ชัดเจนว่าอะไรทำได้ และอะไรทำไม่ได้  เด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสำรวจ พ่อแม่จึงควรห้ามเฉพาะเรื่องที่อาจเกิดอันตรายได้ก็พอ หากจะสกปรก เลอะเทอะบ้างก็ควรปล่อยลูกให้ได้เล่นได้ลองทำก่อนจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กได้ดีกว่าห้ามไปเสียทุกเรื่อง

 
พ่อแม่ต้องหมั่นพูดคุยกับลูกด้วยเหตุผล กอดลูกบ่อยๆ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กแสดงออกอย่างเหมาะสม เมื่อลูกได้รับความรักความอบอุ่นที่เพียงพอ ก็จะไม่เรียกร้องความสนใจ ไม่เอาแต่ใจตัวเอง รู้จักเห็นใจคนอื่นและโตขึ้นเป็นคนที่มีเหตุผล

ป๋องแป๋งอยากได้

นิทานภาพคำกลอน รับมือลูกเอาแต่ใจ ชักดิ้นชักงอ ด้วยเทคนิคขอเวลานอก

ปิงปิงชุด ไม่เอา

นิทานภาพคำกลอนชุดนี้ ฝึกลูกให้มีวินัย รู้หน้าที่ตนเอง พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล แก้ปัญหาลูกดื้อ ห่วงเล่น ไม่ชอบสระผม เอาแต่ใจ ฉี่รดที่นอน

ครบรอบ 20 ปี พาส มอบหนังสือ ในโครงการ “หนึ่งอ่านล้านตื่น”

ครบรอบ 20 ปี พาส มอบหนังสือ  ในโครงการ "หนึ่งอ่านล้านตื่น"

 ครบรอบ 20 ปี พาส มอบหนังสือ ในโครงการ

“หนึ่งอ่านล้านตื่น”

เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี บริษัท พาส เอ็ดดูเคชั่น จำกัด  “คุณสุชาดา สหัสกุล” กรรมการผู้จัดการบริษัท ได้มอบหนังสือมูลค่า 5,000 บาท ให้กับบ้านหนังสือและศูนย์เด็กเล็ก ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 20 แห่ง รวมทั้งสิ้น 100,000 บาท ผ่าน “โครงการ 1 อ่านล้านตื่น” ของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ รศ. ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ให้เกียรติเป็นผู้มอบ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ ฮอลล์ 5-7

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดี ๆ ที่ทางบริษัทฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งในการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของเด็กไทย เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สัมคมอุดมปัญญาต่อไปในอนาคต

#หนึ่งอ่านล้านตื่น #พาสครบรอบ20ปี #สัปดาห์หนังสือ66 #BKKIBF2023 #งานหนังสือ66

งานหนังสือ หนึ่งอ่านล้านตื่น หนังสือ บริจาค สัปดาห์หนังสือ BKKIBF2023 งานหนังสือ66 พาสครบรอบ20ปี

8 วิธีให้ลูกยอมใส่แมสก์

ในช่วงที่เราทุกคนต้องเผชิญหน้ากับเชื้อไวรัสตัวร้าย อย่างเจ้าโควิด-19 คุณพ่อคุณแม่ต่างกังวลว่าจะดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัยจากไวรัส ทั้งหน้ากากอนามัย เฟซชิลด์ เบบี้ไวพ์ เจลแอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์ แม่เตรียมไว้หมดครบทุกไอเท็ม แต่ลูกน้อยสุดที่รักกลับไม่ยอมให้ความร่วมมือ ลูกไม่ยอมใส่หน้ากาก ซะอย่างนั้น พ่อแม่จะทำยังไงดี?   เด็กวัยไหนที่ควรใส่หน้ากาก? คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า ไม่ใช่เด็กทุกคน ทุกวัยที่ควรใส่หน้ากาก ข้อมูลจากโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ระบุว่า ทารกเแรกเกิด ถึง 1 ปีไม่ควรสวมหน้ากาก เพราะยังมีระบบการหายใจที่ไม่แข็งแรงพอ อาจเกิดการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นอันตรายต่อระบบประสาทของทารกได้ หากต้องพาลูกออกนอกบ้าน แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกแนบอก หรือใส่ในรถเข็นที่มีผ้าคลุมปิดแทน ลูกจะปลอดภัยและยังคงหายใจได้อย่างสบาย เด็กวัย 1-2 ปีหากจำเป็นต้องใส่หน้ากาก ควรใส่ด้วยความระมัดระวัง และใส่ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด เด็กวัย 2 ปี ขึ้นไปสามารถใส่หน้ากากได้แล้ว ยกเว้นเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง หรือระบบทางเดินหายใจ ไม่ควรใส่หน้ากาก เด็กที่มีโรคประจำตัวที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษโรคทางระบบประสาทหรือระบบทางเดินหายใจบกพร่องรุนแรง ไมสามารถใส่หน้ากากได้ ควรเคร่งครัดเรื่องการรักษาระยะห่าง หากลูกน้อยของคุณแม่อยู่ในวัย 2 ขวบขึ้นไปที่ควรสวมหน้ากากแล้ว คุณแม่จำเป็นต้องฝึกให้ลูกใส่หน้ากากให้เคยชินทุกครั้งเมื่อต้องออกนอกบ้าน แต่ปัญหาคือ ลูกไม่ยอมใส่หน้ากาก บ้านไหนที่กำลังประสบปัญหานี้ ใช้สารพัดวิธีในการหลอกล่อก็แล้ว แต่ไม่สำเร็จ ลูกดึงออกตลอด เพราะอึดอัด รำคาญ บางบ้านจึงให้ลูกใส่ Face Shield แทน ลูกไม่ยอมใส่หน้ากาก ใส่ Face Shield แทนได้ไหม? ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำว่า การใส่ Face Shield แทนหน้ากากอนามัย ยังไม่สมควร เพราะยังมีช่องเข้าสู่จมูก ปาก และหน้าตา ยิ่ง Face Shield แบบที่เป็นพลาสติกบางใส อ่อนไปอ่อนมา จะยิ่งลดความปลอดภัยลงอีก ดังนั้น การใส่เฟซชิลด์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้ช่วยป้องกันโรค ทั้งยังสามารถทำให้ลูกน้อยรับเชื้อและแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ เฟซชิลด์ไม่สามารถทดแทนหน้ากากอนามัยได้ แม้จะใส่เฟซชิลด์ก็ยังจำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัยอยู่ดี   8 วิธีให้ลูกยอมใส่แมสก์ 1. ใส่เป็นเพื่อนลูกเด็กเล็กชอบเลียนแบบพฤติกรรมพ่อแม่ เมื่อลูกเห็นพ่อแม่ใส่ ลูกจะอยากใส่ด้วย ลองเลือกแมสก์ลายเหมือนกัน ใส่เป็นทีมพ่อแม่ลูกดูนะคะ 2. ให้ตุ๊กตาใส่ด้วยบางทีลูกอาจอยากมีเพื่อนใส่หน้ากากอนามัย ตุ๊กตาตัวโปรดก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่น่าสนใจ หรือชี้ให้ลูกดูเพื่อนคนอื่นๆ ก็ใส่หน้ากากกัน ลูกเห็นเพื่อนใส่ก็จะอยากใส่ด้วย 3. เลือกลายการ์ตูนที่ลูกชอบก่อนคุณแม่จะสั่งซื้อหน้ากาก ลองให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกลายที่เขาชอบ จากเดิมที่ไม่ยอมใส่ พอเจอลายที่ชอบเขาก็อาจยอมใส่ไม่ยาก 4. มีคำชม มีรางวัลเป็นการเสริมแรงทางบวกเมื่อลูกยอมใส่หน้ากากอนามัย ลองให้ลูกส่องกระจก แล้วชมว่าใส่แล้วน่ารักจังเลย ลูกจะได้ดีใจและอยากใส่อีกเพราะอยากให้คุณแม่ชม 5. อธิบายเหตุผลที่ต้องใส่หน้ากากหากลูกอายุน้อยกว่า 3 ปีพอจะเข้าใจเหตุผลง่ายๆ ได้แล้ว คุณแม่ลองคุยกับลูกว่า เราต้องใส่หน้ากากอนามัยเราถึงจะปลอดภัย 6. ให้ดูแอนิเมชั่นที่เป็นตัวไวรัสลูกอายุ 3 ปีขึ้นไป มีความเข้าใจเรื่องเชื้อโรคมากขึ้น สามารถอธิบายได้ว่า เชื้อโรคทำให้เราเจ็บป่วย เมื่อลูกเห็นภาพก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น และยอมใส่หน้ากากเพื่อป้องกันเชื้อโรค 7. ทำข้อตกลงถ้าไม่ใส่ไม่ออกจากบ้าน ข้อนี้คุณแม่ต้องใจแข็ง ลูกอาจไม่พอใจ ร้องโวยวาย แต่ถ้าคุณแม่หนักแน่นลูกจะเรียนรู้เองว่า เป็นสิ่งที่ต้องทำ ถึงร้องไปก็ไม่ได้อยู่ดี (บางบ้านใช้ทริค บอกลูกว่า ถ้าไม่ใส่เขาไม่ให้เข้าร้านนะ วิธีนี้ใช้ได้ผลหลายบ้านเลย) 8. ใช้การเล่านิทานเด็กจะใช้จินตนาการของเขาเชื่อมโยงเรื่องราวในนิทานกลับมายังตัวเอง ให้ตัวละครในนิทานเป็นตัวอย่างในการใส่แมสก์ และจูงใจให้ลูกน้อยยอมใส่แมสก์แต่โดยดี
หนังสือนิทาน “ปิงปิงไม่ใส่หน้ากาก” สอนลูกห่างไกลโรคติดต่อ นิทานปิงปิง เรื่อง ปิงปิงไม่ใส่หน้ากาก 1 ใน 4 เรื่องจาก ชุดปิงปิงระวังภัย ผู้ช่วยคุณแม่ยุคใหม่ สอนลูกให้ห่างไกลโรคติดต่อ ด้วยการรู้จักดูแลสุขอนามัยของตัวเอง ผ่านตัวละครหนูน้อย “ปิงปิง” ซึ่งปิงปิง ก็เป็นเด็กคนหนึ่งที่รู้สึกอึดอัดและรำคาญเวลาที่ต้องสวมหน้ากาก และเมื่อถอดหน้ากาก ก็ทำให้ปิงปิงได้เรียนรู้และเข้าใจ ว่าทำไมต้องใส่หน้ากากอนามัย รวมไปถึงการดูแลสุขอนามัยที่จำเป็นอื่นๆ เช่น กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือ หนังสือเล่มนี้ช่วยให้ลูกน้อย “เรียนรู้การรักษาสุขอนามัย” ไปพร้อมกับปิงปิง อีกทั้งคุณแม่สามารถต่อยอด ชวนลูกมองกลับมาที่ตัวเอง เช่น สมมติว่าถ้าลูกเป็นหวัดเหมือนปิงปิง แล้วอยากไปเล่นกับเพื่อน แต่ไม่มีหน้ากากอนามัยจะทำอย่างไร? การตั้งคำถามให้ลูกได้ฝึกคิดต่อจะช่วยพัฒนา EF ของลูก ในการคิดยืดหยุ่น การยั้งคิด ไตร่ตรอง และปลูกฝังให้ลูกน้อยมีทักษะการใช้ชีวิต สามารถดูแลตัวเองได้อย่างปลอดภัยตั้งแต่วันนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีต่อไปในอนาคตข้างหน้าของลูก

ลูกเล็กถูกเพื่อนแกล้ง จะให้เอาคืนหรือยอม?

เมื่อลูกถูกเพื่อนแกล้ง เป็นปัญหาคาใจพ่อแม่ที่ไม่มีคำตอบถูกผิดตายตัว แต่มีหลักให้พ่อแม่นำไปปรับใช้ ดังนี้
  1. มองที่ผลระยะยาวก่อนว่า อยากให้ลูกเป็นคนแบบไหน ให้สอนแบบนั้น ถ้าสอนให้แรงมาแรงไป บางทีเพื่อนอาจหยุดแกล้ง แต่ก็เสี่ยงจะกลายเป็นปลูกฝังวิธีแก้ปัญหาด้วยกำลังโดยไม่รู้ตัว หรือไม่รู้จักคำว่าถอยเลย ซึ่งพ่อแม่ต้องระวังในจุดนี้เช่นกัน
  2. ไม่แนะนำให้สอนลูกนิ่งเงียบอดทน เก็บความรู้สึกไว้ เพราะลูกจะยังถูกเพื่อนแกล้งต่อไป และคนแกล้งก็จะไม่รู้ตัวว่าทำผิด
  3. แนะนำให้สอนลูกรู้จักรักษาสิทธิตัวเองเมื่อถูกรังแกหรือเอาเปรียบ ให้ลูกบอกเพื่อนดีๆ ว่า “เราไม่ชอบให้เธอทำแบบนี้นะ อย่าทำอีก” ถ้าลูกไม่กล้า ให้พ่อแม่จูงมือลูกไปหาเพื่อนคนนั้น แล้วให้ลูกพูดดีๆ ไม่ใช่ด่าหรือเดินไปเอาคืน ทำแบบนี้เพื่อให้ลูกเห็นว่า “เขาไว้ใจพ่อแม่ได้เสมอ” และพ่อแม่ก็เป็นตัวอย่างให้เขาเห็นว่า เวลาถูกเอาเปรียบควรทำอย่างไร
  4. ถ้าลูกบอกเพื่อนแล้ว เพื่อนก็ยังแกล้งอีก สอนให้ลูกไปฟ้องครู หรืออยู่ให้ห่างจากเพื่อนคนนั้นไว้ก่อน
  5. ถ้าลูกยังถูกเพื่อนแกล้งประจำไม่เลิก พ่อแม่ต้องเข้าไปพบครูช่วยกันแก้ปัญหา ไม่ใช่ไปเอาเรื่องครู แต่เพื่อแสดงให้ลูกเห็นว่าเราต้องรักษาสิทธิอย่างไร และพ่อแม่ไม่ได้นิ่งนอนใจนะ
สุดท้ายคงไม่มีคำตอบฟันธงชัดๆ ว่า เมื่อลูกถูกเพื่อนแกล้ง ควรทำแบบไหนดีที่สุด อาจผสมผสานยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ ยึดหลักคือ สอนให้ลูกรู้จักรักษาสิทธิตัวเอง แต่ไม่ล้ำเส้นคนอื่น และไม่ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา

ทำอย่างไร ถ้าลูกห่วงเล่น ไม่ห่วงกิน

เอาแต่เล่น ไม่ยอมกิน

ลูกไม่ยอมกินข้าว เพราะห่วงเล่น แก้ด้วยการฝึกวินัยการกินที่ดีให้ลูก
เด็กส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหรอกว่า เรากินอาหารไปเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง และยิ่งไม่รู้หรอกว่า การมีวินัยในการกินสำคัญอย่างไร เขารู้เพียงแค่ว่า หิวก็กิน อยากกินก็กิน อาหารอร่อยก็กินเพียงเท่านั้น จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องฝึกลูกให้มีวินัยในการกินตั้งแต่ยังเล็ก เพราะจะทำให้ลูกมีความสามารถในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำของตัวเอง ที่เรียกว่าทักษะ EF อันเป็นพื้นฐานไปสู่เป้าหมายต่าง ๆ ในชีวิตต่อไป ด้วยวิธีต่อไปนี้

กินอาหารให้เป็นมื้อ กินให้เป็นเวลา
ลูกไม่ยอมกินข้าว หากปล่อยให้ลูกกินทั้งวัน หิวเมื่อไหร่ก็มีของกินพร้อมเสิร์ฟ ลูกก็จะไม่หิวเมื่อถึงเวลาอาหาร และไม่เห็นความสำคัญของการกินให้เป็นเวลา สำหรับลูกเล็กในวัยอนุบาล อาจมีอาหารว่างมื้อเล็กตอน 10 โมงเช้า กับ บ่าย 2 โมง แต่ต้องเป็นมื้อเล็กที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการ หลีกเลี่ยงขนมกรุบกรอบ อาหารหวาน น้ำหวาน ขนมหวาน และไม่ควรให้กินขนมใกล้เวลาก่อนมื้ออาหาร สัก 2 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกได้รู้จักความหิว

กำหนดเวลากินในแต่ละมื้อไม่เกินครึ่งชั่วโมง
บอกลูกว่า ทุกคนจะนั่งที่โต๊ะกินข้าวด้วยกันตามเวลาจนเสร็จ เมื่อหมดเวลาต้องเก็บอาหาร และไม่มีการกินเวลาอื่น ไม่มีของว่างหรือขนม จนกว่าจะถึงมื้อต่อไป เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้กฎว่า ถึงเวลากินข้าวต้องหยุดเล่น และมากินอาหารให้ตรงเวลา ถ้าไม่กินตามเวลาต้องทนหิว เพื่อรอเวลาอาหารมื้อถัดไป

ในข้อนี้ สำคัญมากในการฝึกลูกให้เรียนรู้วินัยการกินที่ดี คุณแม่ต้องไม่ใจอ่อน อย่ากลัวว่าลูกจะขาดสารอาหาร หากปล่อยให้ลูกอด เพราะการที่เด็กอดไปไม่กี่มื้อ ไม่ได้ทำให้เด็กขาดสารอาหารและไม่โต แต่จะทำให้เด็กเรียนรู้วินัยการกินที่ดีในระยะยาว ซึ่งการฝึกตั้งแต่ลูกยังเล็กแบบนี้ จะทำให้คุณแม่สบายในระยะยาว ไม่ต้องเหนื่อยเคี่ยวเข็ญให้ลูกกินข้าวไปจนโตด้วยเช่นกัน

สร้างบรรยากาศที่ดีในการกิน
ฝึกให้ลูกนั่งกับโต๊ะ กินอาหารพร้อมกันร่วมกับพ่อแม่ เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีในการกินให้ลูกได้เรียนรู้ว่า การกินเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำเหมือนกิจวัตรอื่นๆ และทุกคนต้องทำเหมือนกัน โดยมีพ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีในการกิน ซึ่งหากบ้านไหนที่พ่อแม่กินข้าวไม่เป็นเวลา กินข้าวหน้าทีวี หรือเลือกกิน ก็ควรปรับที่พฤติกรรมของตัวเองก่อน

สอนไปในทิศทางเดียวกัน
ปัญหาหนึ่งในการที่ฝึกวินัยลูกไม่สำเร็จ เพราะผู้ใหญ่ในบ้านไม่สอนลูกหลานไปในทิศทางเดียวกัน ก่อนอื่นเลย ผู้ใหญ่ในบ้านควรคุยข้อตกลงในการปรับพฤติกรรมการกินของเด็กให้ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่ว่า แม่เก็บอาหารเมื่อลูกไม่ยอมกินตามเวลา แต่คุณยาย เอาขนมของว่างมาให้หลานเพราะกลัวจะหิว เช่นนี้แล้ว เด็กจะไม่เห็นความสำคัญของการกินเป็นเวลา ซึ่งจะทำให้การปรับพฤติกรรมไม่ประสบความสำเร็จ

ไม่บังคับให้ลูกกินข้าว
คุณแม่คุณแม่ไม่ควรกังวลกับการกินของลูกมากเกินไป โดยธรรมชาติของเด็กเล็กจะกินอาหารตามปริมาณที่ร่างกายต้องการอยู่แล้ว เมื่อลูกอิ่ม ไม่อยากกิน ไม่ต้องคะยั้นคะยอหรือบังคับให้ลูกกินต่อให้หมด เพราะการกินมากกินน้อย ลูกอ้วนหรือยอมไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าเราเป็นพ่อแม่ที่ดีหรือไม่ดี แต่การบังคับให้ลูกกินจะทำให้ลูกเกิดทัศนคติที่ไม่ได้ต่อการกิน และยิ่งไม่ยอมกินข้าวยิ่งกว่าเดิม

ชวนลูกมีส่วนร่วมในการทำอาหาร
คุณแม่อาจชวนให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำอาหาร ในส่วนที่ลูกสามารถทำได้และไม่เป็นอันตราย ลูกจะตื่นเต้นและภูมิใจที่ได้กินอาหารฝีมือตัวเอง นอกจากนี้คุณแม่อาจมีการดัดแปลงอาหารบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อสร้างบรรยากาศบนโต๊ะอาหารให้มีความแปลกใหม่ น่ากินกว่าเดิม เช่น มีสีสันหรือทำเป็นรูปตัวการ์ตูน

ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเมนู
คุณแม่ต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเมนูให้เป็น เพราะการที่ลูกกินแต่อาหารเดิมๆ จนเบื่อก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่สนใจการกิน โดยคุณแม่อาจสลับจากเมนูข้าว เป็นเมนูเส้นที่ให้คาร์โบไฮเดรตเหมือนกัน เช่น ก๋วยเตี๋ยว สปาเก็ตตี้ มักกะโรนี ขนมจีน เป็นต้น

ซึ่งหากคุณแม่จะฝึกให้ลูกลองอาหารใหม่ๆ ที่ไม่เคยกิน ควรนำเข้ามาทีละนิดร่วมกับอาหารที่ลูกชอบ หากลูกปฏิเสธอาหารชนิดนั้นๆ ในครั้งแรก ไม่ได้หมายความว่า ลูกจะไม่กินอาหารชนิดนั้นอีก ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าสามารถให้เด็กได้ลองเป็นระยะ ได้ถึง 10 ครั้ง

ฝึกลูกตักอาหารกินเอง
เริ่มจากพ่อแม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง จากนั้นจับมือลูกทำตาม แล้วลองให้ลูกทำเอง ฝึกบ่อยๆ ให้ลูกทำได้ให้มากที่สุด ไม่ต้องกลัวเลอะเทอะ ไม่ต้องวุ่นวายกับการทำความสะอาดตลอดเวลาระหว่างกิน ให้คิดเสมอว่าความเลอะเทอะ คือการเรียนรู้ เมื่อลูกทำได้พ่อแม่ควรชื่นชมให้กำลังใจ ตบมือ ยิ้มให้ แล้วบอกว่า ที่คุณพ่อคุณแม่พอใจ คือ พฤติกรรมอะไร ยิ่งชมลูกยิ่งภูมิใจ และอยากทำอีก เมื่อลูกกินข้าวจนหมด พ่อแม่ก็ชมอีก วิธีนี้เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ลูกอยากกินอาหารตรงเวลามากขึ้น

ปัญหาลูกกินยาก ห่วงเล่น ไม่ยอมกินข้าว แก้ได้ไม่ยาก เพียงคุณพ่อคุณแม่ปรับทัศนคติของตัวเอง และปรับการตอบสนองต่อพฤติกรรมของลูกอย่างเหมาะสม การฝึกวินัยการกิน ไม่เพียงช่วยแก้ปัญหา ลูกไม่กินข้าว แต่การตั้งกติกา ช่วยฝึกให้ลูกมีความอดทน รู้จักควบคุมตนเอง เรียนรู้กฎในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เป็นพื้นฐานในการมีวินัยเรื่องอื่นๆ ต่อไป

หนังสือนิทานต่อไปนี้แก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว
การใช้หนังสือนิทาน เป็นอีกวิธีหนึ่งในการสอนลูกกินข้าวให้ตรงเวลา ฝึกวินัยการกินให้ลูก ไม่กินปิงปิงเล่นก่อน” เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เพื่อชี้ให้ลูกเห็นว่า บ้านของเรามีกติกาที่ทุกคนในบ้านต้องทำเหมือนกัน ถ้าถึงเวลากินแล้วไม่กิน ลูกจะหิวแบบ “ปิงปิง”

นิทานปิงปิง “ไม่กินปิงปิงเล่นก่อน” ยังช่วยเสริมสร้างทักษะทางสมองที่สำคัญอย่าง EF ได้ด้วย คุณพ่อคุณแม่สามารถชักชวนลูกพูดคุยถึงเหตุการณ์ในเรื่องนี้เชื่อมโยงกลับมาที่ตัวเอง หนูจะทำอย่างไรไม่ให้ต้องทนหิวอย่างปิงปิง ช่วยฝึกการยั้งคิดไตร่ตรอง และรู้จักประเมินตนเอง รวมไปถึงชวนลูกคิดต่อว่า แล้วเย็นนี้หนูอยากกินอะไร เราลองมาช่วยกันทำดีไหม เป็นการฝึกความจำเพื่อใช้งาน และวางแผน จัดระบบ ดำเนินการ เป็นพื้นฐานกระบวนการคิดที่สำคัญต่อไปในอนาคต

ป๋องแป๋งไม่อยากกิน
ฝึกลูกให้รู้จักรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ผ่านเรื่องราวน่ารักของ “ป๋องแป๋ง” ตัวละครสุดฮิตที่เด็กๆ ชื่นชอบ พร้อมเทคนิคทำให้ลูกชอบกินผักท้ายเล่ม เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนรู้ของเด็กเล็ก

อ้ำ อ้ำ…หม่ำ หม่ำ
หนังสือภาพพร้อมเพลง ปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการกินอาหารและเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับยานพาหนะที่เด็กชื่นชอบ เช่น รถไฟ ตุ๊กตุ๊ก เครื่องบินผ่านคำคล้องจองที่สามารถร้องเป็นเพลงแสนสนุก ส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์และทักษะทางภาษาอย่างสมบูรณ์ หนังสือเด็ก 0-6 ปี

ขอบคุณข้อมูลจาก ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย, Amarin Baby & Kids, kapook.com