Author Archives: Passcation Admin

ทำไมลูกยิ่งเล่นยิ่งฉลาด

ทำไมลูกยิ่งเล่นยื่งฉลาด

เด็กๆ เรียนรู้ผ่านการเล่นทุกรูปแบบ

ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูป ระบายสี หรือเล่นกลางแจ้ง

อย่างวิ่งไล่จับกัน ปีนตาข่าย ลื่นสไลด์เดอร์ นั่งชิงช้า

จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือในเด็กเล็ก 1-3 ขวบได้ดีมาก

“มือ” ถือเป็นสมองที่สองของเด็ก ยิ่งมือใช้งานมากเท่าไหร่

เส้นใยสมองจะยิ่งแตกแขนงได้ดีมากเท่านั้น

ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองโดยตรง

การเล่นของลูกช่วงวัยนี้จึงสำคัญมาก


นิทานป๋องแป๋ง #ชุดหนูทำได้ ช่วยให้ลูกเรียนรู้การใช้กล้ามเนื้อมือพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ สร้าง EF ผ่านการเล่นสนุก 2 อย่าง “หัดถีบรถและว่ายน้ำ”

เล่นด้วยกันสนุกดี นิทานเด็ก สร้างจินตนาการ ฝึกคิดสร้างสรรค์ประดิษฐ์ของเล่นจากสิ่งรอบตัว (สแกนQRCode ฟังเพลงแสนสนุกได้ที่ปกหลัง) หนังสือสำหรับเด็ก 0-6 ปี

ทำไมต้องให้ลูกเล่นเยอะแยะ

ทำไมต้องให้ลูกเล่นเยอะๆ

ทำไมต้องให้ลูกเล่นเยอะๆ

  • ทางจิตวิทยาและงานวิจัยเห็นตรงกันว่า
  • เล่นดินทรายช่วยระบายความก้าวร้าว
  • ฉีก แปะ กระดาษ ก็ช่วยระบายความก้าวร้าวได้ดี
  • ปั้นดินน้ำมัน ช่วยสร้าง self esteem ลูกจะรู้สึกว่า ฉันทำได้
  • แค่ขย้ำเบาๆ ดินน้ำมันก็เปลี่ยนรูปร่างแล้ว
  • เล่นบทบาทสมมุติ ช่วยพัฒนาภาษา คำศัพท์
  • ต่อบล็อกไม้ ช่วยเรื่องเปลี่ยนมุมมอง ยืดหยุ่นความคิด
  • ระบายสี ช่วยฝึกกล้ามเนื้อมือทุกมัด เลอะเทอะบ้างแต่สนุกมาก
  • ปีนที่สูง ช่วยเพิ่ม EF แทบทุกด้าน จะปีนได้ลูกต้องควบคุมตัวเอง มือเท้าต้องสัมพันธ์กัน
  • ตั้งใจ วางแผนว่าจะปีนถึงไหน แล้วอดทนพยายามปีนไปให้ถึง
  • ดนตรี กับ กีฬา ก็ช่วยสร้าง EF ที่ดีมาก

จากพื้นฐานการเล่นที่หลากหลายข้างต้น เราจะเห็นว่าการเล่นแต่ละรูปแบบล้วนมีประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็กอย่างรอบด้าน มาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกัน

  1. พัฒนาการทางอารมณ์ การเล่นช่วยให้เด็กได้เรียนรู้การจัดการอารมณ์อย่างเหมาะสม เช่น เมื่อเล่นดินทรายหรือฉีกกระดาษ เด็กจะได้ระบายความเครียดและความก้าวร้าวออกมาในทางสร้างสรรค์ แทนที่จะแสดงออกด้วยการทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น
  2. สร้างความมั่นใจในตนเอง กิจกรรมอย่างการปั้นดินน้ำมัน ช่วยให้เด็กเห็นว่าตนเองสามารถสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้ ความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้จะสร้างความภาคภูมิใจและความมั่นใจให้กับเด็ก
  3. พัฒนาทักษะการคิด การต่อบล็อกไม้ช่วยฝึกการคิดแก้ปัญหา การมองภาพรวม และความคิดสร้างสรรค์ เด็กจะได้เรียนรู้การวางแผน การทดลอง และการแก้ไขเมื่อเกิดข้อผิดพลาด
  4. เสริมสร้างทักษะสังคม การเล่นบทบาทสมมติช่วยให้เด็กเข้าใจบทบาทและความรู้สึกของผู้อื่น พัฒนาทักษะการสื่อสาร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มพูนคำศัพท์และการใช้ภาษา
  5. พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว กิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหว เช่น การปีนป่าย การเล่นกีฬา ช่วยพัฒนาการประสานงานระหว่างมือและตา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการทรงตัว
  6. เสริมสร้างทักษะสมอง EF การเล่นที่ต้องใช้การวางแผนและควบคุมตนเอง เช่น การปีนที่สูง หรือการเล่นดนตรี จะช่วยพัฒนาทักษะสมอง EF ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของความสำเร็จในอนาคต

ดังนั้น พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกได้เล่นอย่างหลากหลาย และเข้าใจว่าการเล่นคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ไม่ควรจำกัดหรือห้ามการเล่นเพียงเพราะกลัวเลอะเทอะหรือเสียเวลา เพราะประโยชน์ที่ได้นั้นมีค่ามากกว่าความยุ่งยากเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจเกิดขึ้น


เก่งจัง ตัวเรา นิทานเด็ก รู้จักอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย (สแกนQRCode ฟังเพลงแสนสนุกได้ที่ปกหลัง) หนังสือสำหรับเด็ก 0-6 ปี

ทำไงพี่ตัวน้อยไม่อยากมีน้อง

เมื่อคุณพ่อคุณแม่กำลังจะมีลูกคนที่สอง แต่ลูกคนโตกลับบอกว่า ไม่อยากมีน้องซะอย่างนั้น! คุณแม่แค่คิดก็อาจจะปวดหัวแล้วใช่ไหมคะ ดังนั้นวันนี้เรามีวิธีเตรียมพี่ตัวน้อยรับน้องคนใหม่มาฝากกันค่ะ

1. บอกลูกเมื่อตั้งครรภ์ : ควรให้ลูกรู้จากคุณแม่มากกว่ารู้จากคนอื่น เพื่อให้เขาเตรียมตัวสำหรับการมีน้อง และการเป็นพี่

2. ย้ายสิ่งของต่างๆ ล่วงหน้า : หากจะต้องย้ายเตียงและที่นอนของลูกหรือสิ่งอื่นๆ เพื่อเตรียมการมาของน้อง ควรย้ายก่อนคลอด เพื่อให้ลูกคนโตไม่รู้สึกว่าถูกแทนที่ด้วยน้อง

3. ดูแลเขาไม่ต่างจากเดิม : งานวิจัยพบว่าลูกที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแม่จะมีอารมณ์ด้านลบมากกว่าเด็กที่ใกล้ชิดกับพ่อ และเด็กวัย 2-5 ปี จะมีอาหารหวาดระแวงเมื่อคุณพ่อคุณแม่รักน้อยลง และจะดีขึ้นหากคุณแม่ทำให้เขามั่นใจได้ว่าน้องจะไม่มาแบ่งความรักจากแม่ไปจากเขา ด้วยการดูแลที่ไม่ต่างจากเดิม

4. ชี้ให้เห็นประโยชน์ของการเป็นพี่ : คงจะมีบ้างที่พี่รู้สึกอิจฉาน้อง ควรบอกประโยชน์ของการเป็นพี่ เช่น วิ่งเล่นเองได้ ปั่นจักรยานเป็น ได้มีน้องเป็นเพื่อน และเล่าเรื่องลูกในวัยเท่ากันว่าเขาเป็นอย่างไร

5. ให้เขามีส่วนร่วม : ในการจัดเตรียมข้าวของของน้องหรือร่วมพูดคุยเรื่องน้อง แต่อย่างไรก็ตามควรทำให้เขารู้สึกว่าเป็นการเล่นสนุกมากกว่าเน้นย้ำว่าเป็นหน้าที่ใหม่ที่รับผิดชอบ และหากลูกของคุณพ่อคุณแม่มีความสนใจเกี่ยวกับน้องในท้อง อาจจะทำให้เด็กๆ ตื่นเต้นด้วยการให้ดูภาพอัลตราซาวด์  ช่วยคิดชื่อน้อง ให้ลูกได้ยินเสียงหัวใจของน้อง เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างพี่กับน้องตั้งแต่แรกเริ่ม


ป๋องแป๋ง ชุดมีน้อง นิทานก่อนนอน ฝึกให้รักและผูกพันกับน้อง สร้างทักษะทางสังคม หนังสือสำหรับเด็ก 4-6 ปี

ตั้งสติก่อนตำหนิลูก

โดยธรรมชาติแล้ว เราไม่ชอบให้ใครติหรือว่าหรอกค่ะ ถึงจะเป็นคำติที่เจตนาดีก็ตาม แต่ถ้าไม่มีศิลปะในการพูดคนฟังก็อาจขุ่นเคืองหรือต่อต้านได้ง่ายๆ ยิ่งในเด็กเล็กๆ พ่อแม่ต้องยิ่งใส่ใจมากหากจะต่อว่าหรือตักเตือนเขา วันนี้เรามีวิธีตำหนิลูกง่ายๆ อย่างสร้างสรรค์มาฝากกันค่ะ

1. ลูกทำผิดให้ตำหนิที่พฤติกรรมของเขา ไม่ใช่ตำหนิที่ตัวเขา เช่น ลูกลอกการบ้านเพื่อน พูดคำหยาบ แกล้งเพื่อน ขโมยของเพื่อน แม่ไม่ควรพูดว่า “ลูกแย่มากที่ทำตัวแบบนี้” แต่ควรพูดว่า “แม่เสียใจที่ลูกทำแบบนี้ และเพื่อนก็คงเสียใจเหมือนกัน…” การตำหนิที่พฤติกรรม จะแสดงให้ลูกรู้ว่า พ่อแม่ไม่ชอบ ไม่ยอมรับพฤติกรรมไม่ดี ไม่น่ารักของเขา ไม่ได้แปลว่า เกลียดหรือไม่รักเขา

2. ให้โอกาสลูกอธิบายเหตุผลก่อนตำหนิเขา (แม้บางครั้งพ่อแม่อาจรู้ว่าลูกกำลังโกหกอยู่ก็ตาม) ตรงนี้จะช่วยทำให้ลูกเชื่อใจและมั่นใจที่จะเล่าหรืออธิบายว่าทำไมจึงทำแบบนั้น ขณะฟังพ่อแม่ก็ต้องแสดงท่าทีตั้งใจฟัง นิ่ง สงบ เสร็จแล้วลูกจะถูกหรือผิด เราจึงค่อยๆ ให้เหตุผลว่า อะไรควรทำหรือไม่ควร ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

3. ไม่ตำหนิหรือเปรียบเทียบลูกต่อหน้าคนอื่น เพราะเด็กจะรู้สึกเสียหน้าและอาย ซึ่งไม่มีเกิดผลดีอะไร ตรงกันข้ามถ้าเมื่อไหร่ลูกทำดีก็ต้องชมลูกทันที เช่นเดียวกันชมที่พฤติกรรมของเขาเป็นสำคัญ เช่น ลูกช่วยคุณยายล้างผักเก่งมากจ้ะ น่ารักจัง”

คำพูดแนะนำที่อ่อนโยนและเข้าใจมีส่วนสำคัญมากต่อพฤติกรรมของลูก ไม่ว่าคำตักเตือน หรือคำชม พ่อแม่จึงควรเลือกใช้คำพูดที่ดีต่อใจลูกเสมอ


อย่าเปรียบเทียบ ปิงปิงน้อยใจ ลูกจะกลายเป็นเด็กมีปัญหา ถ้าไม่หยุดเปรียบเทียบกับเด็กอื่น นิทานพัฒนาทักษะชีวิต หนังสือสำหรับเด็ก 0-6 ปี

ชมลูกให้ได้ผลดี

การชมลูก ถ้าใช้ถูกจะช่วยเสริมพฤติกรรมเชิงบวก แต่ถ้าชมผิดหลัก ก็สามารถให้ผลตรงข้ามได้เลย เทคนิคชมลูกให้ได้ผลดี ง่ายๆ มีดังนี้

1. ชมอย่างจริงใจ ไม่ต้องพูดชมเว่อร์เกินจริง

2. ชมพร้อมใช้ภาษากาย เช่น กอด หอมแก้ม ลูบหัว

3. ชมทันทีที่ลูกทำ

4. ชมที่พฤติกรรมหรือความคิด ไม่เน้นชมที่ผลลัพธ์ (เก่ง, หล่อ-สวย, สอบได้ที่ 1, ร้องเพลงเพราะ ฯลฯ ) เช่น แทนที่จะชมว่า “หนูวาดรูปสวยจังเลย” ให้เปลี่ยนเป็น “หนูมีความพยายามมากที่วาดจนเสร็จ แม่ภูมิใจในตัวหนูนะจ๊ะ”

5. ชมโดยไม่นำไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เช่น “หนูได้ที่ 1 เก่งกว่าเพื่อนทุกคนในห้องเลย”

คำชมจึงมีความสำคัญ ปลูกฝังทัศนคติที่ดีให้ลูกได้ ไม่ใช่แค่คำพูดธรรมดา แต่พ่อแม่ต้องใส่ใจและใช้กับลูกอย่างเหมาะสมด้วย


ป๋องแป๋ง ชุดหนูทำได้ นิทานเด็ก ป๋องแป๋ง ชุดหนูทำได้ พัฒนาทักษะ EFด้านความมุ่งมั่น สร้างความมั่นใจในตนเอง หนังสือสำหรับเด็ก 0-6 ปี

ป๋องแป๋ง ชุดคนเก่ง นิทานเด็ก ป๋องแป๋ง ชุดคนเก่ง เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาอย่างมีสติ ดูแลตนเองได้ หนังสือสำหรับเด็ก 4-6 ปี

ชมลูกให้เป็น ลูกเก่งได้ไม่ยาก

ชมให้เป็น ลูกเก่งได้ไม่ยาก  

     สำหรับเด็กๆ แล้วคำชมมีความจำเป็นและสำคัญมากๆ ค่ะ ถ้าใช้ให้เป็น คำชมนี่แหละจะเป็นแรงกระตุ้นที่ดีมากช่วยทำให้ลูกอยากทำซ้ำๆ (เพราะทำแล้วจะได้คำชมจากพ่อแม่) เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง เมื่อลูกทำดีแม้จะดูเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น ทานข้าวเองได้ (ถึงจะหกเลอะเทอะบ้างหรือใช้เวลามากหน่อยก็ไม่เป็นไร) ไม่ฉี่รดที่นอน เข้านอนไม่งอแง ช่วยหยิบของให้ เก็บของเล่นเอง ฯลฯ หน้าที่ของพ่อแม่ก็คือ ชมลูกทันทีเมื่อเขาทำได้ทำตัวน่ารัก และชมอย่างจริงใจ ไม่ใช่ชมพร่ำเพรื่อหรือเกินจริงเพราะเด็กก็มีเซ้นส์แยกแยะออก ว่าอันไหนเป็นคำชมจริงหรือแค่แกล้งชม และการชมให้ชมสิ่งที่ลูกทำ เช่น หนูเก็บที่นอนเองเก่งมากจ้ะ หรือหนูกินข้าวเองได้จนหมดชามเลยเก่งมากจ้ะ

สำหรับลูกวัยอนุบาลยิ่งถูกชมก็ยิ่งเป็นแรงเสริมที่ดีให้ลูกทำสิ่งนั้นบ่อยๆ จนเป็นนิสัยที่ดีติดตัวเขาไปได้ แต่ในลูกวัยประถมที่เริ่มรู้เรื่องและเข้าใจมากขึ้น พ่อแม่ก็ต้องพิถีพิถันในการชมด้วย ให้เลือกชมในความพยายามของเขา เช่น ชมว่าลูกขยันทำโจทย์เลขจึงสอบได้คะแนนดี มากกว่าจะชมว่า ลูกเก่งมากที่สอบได้คะแนนดี สรุปหลักในการชมลูกง่ายๆ คือ

1.   ชมลูกอย่างจริงใจ

2.   ชมในสิ่งที่ลูกทำหรือพยายามทำ มากกว่าบอกแค่ว่า เก่งมาก ดีมาก

3.   ไม่ชมพร่ำเพรื่อหรือในสิ่งที่ดูธรรมดา (ชมตามวัยของลูก เช่น อยู่ ป.1 แต่กลับชมลูกว่า เก่งมากที่แปรงฟันเองเป็น)  

4.   ไม่ชมลูกโดยเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น

แค่พ่อแม่รู้จักชมลูกและชมให้เป็น ก็จะเป็นแรงจูงใจให้ลูกเป็นเด็กน่ารักได้ไม่ยากเลย

—————–

ป๋องแป๋ง ชุดหนูทำได้ นิทานเด็ก ป๋องแป๋ง ชุดหนูทำได้ พัฒนาทักษะ EFด้านความมุ่งมั่น สร้างความมั่นใจในตนเอง หนังสือสำหรับเด็ก 0-6 ปี

งานบ้านเล็กๆ สอนเด็กคิดใหญ่ๆ

“งานบ้านเล็กๆ สอนเด็กคิดใหญ่ๆ”

.

ใครจะเชื่อว่างานบ้านเล็กๆ อย่างเช่นการแยกผ้า ก็สามารถสร้างเป็นกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้ร่วมทำไปด้วยกันกับคุณพ่อคุณแม่อย่างสนุก เป็นกิจกรรมที่ช่วยทำให้เจ้าตัวเล็กฝึกคิดวิเคราะห์และส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิตอย่างดีเลยค่ะ

.

เริ่มตั้งแต่ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะนำเสื้อผ้าลงในเครื่องซักผ้า ก็ลองชวนเด็ก ๆ มาคัดแยกเสื้อผ้าที่คละอยู่ในตะกร้าออกเป็นแต่ละประเภท เช่น เสื้อยืด เสื้อแขนสั้น กางเกง กระโปรง ถุงเท้า ผ้าเช็ดหน้า หรือหากปกติคุณพ่อคุณแม่คัดแยกเสื้อผ้าไว้อยู่แล้ว ก็นำมากองรวมคละกันแล้วทำทีชวนลูกๆ มาเล่นเกมแยกหมวดหมู่เสื้อผ้าก็ได้ค่ะ

.

คุณพ่อคุณแม่อาจกระตุ้นความสนใจด้วยคำถามง่ายๆ เพิ่มเติม เช่น “เสื้อผ้าของคุณพ่อให้ใส่ในตะกร้าสีฟ้า เสื้อผ้าของคุณแม่ใส่ในตะกร้าสีชมพู ส่วนเสื้อผ้าของหนูใส่ในตะกร้าสีเหลืองนะจ๊ะ”

.

ถ้าลูกๆ ยังสนุกกับเกมนี้อยู่ อาจต่อด้วยโจทย์ว่า “มาลองแยกผ้าสีขาว ออกจากผ้าสีอื่น ๆ กันดีกว่า” ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมคำถามได้เองตามเหมาะสม เข้ากับสถานการณ์หรืออุปกรณ์ที่มีอยู่ในบ้านได้เลยค่ะ

.

อ้อ! ที่สำคัญสำหรับกิจกรรมนี้ ในแต่ละความสำเร็จที่ลูกทำได้ ต้องมีคำชมให้ลูกเสมอนะคะ ลูกจะรู้สึกภูมิใจและอยากทำอีก สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงเสริมและสั่งสมความเชื่อมั่นในตนเองได้อย่างดี

.

กิจกรรมนี้สอนให้เด็ก ๆ รู้จักช่วยเหลือตนเอง ฝึกสังเกต จัดหมวดหมู่ นอกจากนั้นยังรู้จักแก้ปัญหาต่างๆ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของทักษะการคิดวิเคราะห์ที่เด็กๆ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง และพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เมื่อโตขึ้น ‪#‎แนะนำหนังสือเด็ก


ป๋องแป๋งทำงานบ้าน นิทานเด็ก ป๋องแป๋งทำงานบ้าน ฝึกทักษะ EF ผ่านการทำงานบ้าน ฝึกความรับผิดชอบ นิทานก่อนนอน หนังสือสำหรับเด็ก 4-6 ปี

เรียบเรียง : พี่คิดส์ซี่

คำชมพูดกับลูกไว้ให้ติดปาก

ใครๆ ก็ชอบถูกชม อย่าว่าแต่เด็กๆ เลยค่ะ

ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็ชอบ

รู้ป่ะคะ คำชมนี่แหละจะช่วยทำให้ลูก

มีความมั่นใจในตัวเอง

เวลาเค้าทำดี แม้จะเล็กๆ น้อยๆ

อย่างเก็บของเล่นเอง กินข้าวหมดจาน

เราก็ควรชมเค้า เมื่อลูกทำดีให้ชมเลย

ลูกจะภูมิใจและอยากทำต่อ

แต่ต้องชมด้วยน้ำเสียงจริงใจนะ

อย่าเฟค อย่าแอ๊บ เพราะเด็กๆ เค้ารู้

แล้วถ้าลูกดื้อ? ใครจะไปชมล่ะคะ

ก็ต้องมีตักเตือนกันบ้าง

แต่ก็อย่าตำหนิรุนแรงและพร่ำเพรื่อ

คำที่ห้ามใช้เลยคือโง่ เซ่อ ปัญญาอ่อน

หรืออะไรทั้งหลายที่เราชอบพูด

เวลาจะเหวี่ยงจะวีนใส่ใคร

ไม่ดีค่ะไม่ดีเลย มันเป็นสิ่งที่จะทำร้ายจิตใจลูกได้ง่ายมาก

และถ้าไม่ระวังจะส่งผลเสียในระยะยาวด้วยคำแย่ๆ

ที่พ่อแม่เผลอว่าลูกไม่กี่คำนี้แหละ

ท่องไว้ค่ะท่องไว้ จะพูดอะไรกับลูกให้คิดก่อนเสมอ

“ถ้าเป็นคำชมให้พูดทันที

ถ้าเป็นคำติ คิดดีๆ ก่อนพูด”

ต่อยอดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการชมและการสื่อสารกับลูก:

การชมและการสื่อสารที่ดีกับลูกเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เราสามารถใช้โอกาสต่างๆ ในชีวิตประจำวันมาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้ ยกตัวอย่างเช่น:

  1. ช่วงเวลาอ่านนิทาน การอ่านนิทานก่อนนอนเป็นโอกาสดีในการพูดคุยและชมเชยลูก เราสามารถชวนลูกแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครในเรื่อง ถามความรู้สึก และชมเมื่อลูกแสดงความเห็นที่น่าสนใจ เช่น “หนูคิดเก่งมากที่เข้าใจความรู้สึกของตัวละครในนิทาน”
  2. ระหว่างการทำกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูป ระบายสี หรือเล่นของเล่น ให้สังเกตกระบวนการทำงานของลูก แล้วชมในสิ่งที่เขาพยายาม เช่น “แม่เห็นว่าหนูตั้งใจวาดรูปมากเลย ใช้สีสวยด้วย”
  3. ในชีวิตประจำวัน แม้แต่การทำกิจวัตรธรรมดา เช่น แต่งตัว แปรงฟัน ก็สามารถใช้เป็นโอกาสในการชมได้ แต่ต้องระวังไม่ชมพร่ำเพรื่อจนเกินไป
  4. เมื่อเกิดความผิดพลาด แม้ลูกจะทำผิดพลาด ก็ยังสามารถหาจุดดีที่จะชมได้ เช่น “แม้ว่าครั้งนี้จะยังไม่สำเร็จ แต่แม่เห็นว่าหนูพยายามมากขึ้นกว่าครั้งก่อนนะ”

สิ่งสำคัญคือต้องชมอย่างมีความหมาย ไม่ใช่แค่พูดว่า “เก่งมาก” หรือ “ดีมาก” แต่ต้องบอกด้วยว่าเก่งตรงไหน ดีอย่างไร เพื่อให้ลูกเข้าใจและเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตัวเองทำ

เมื่อลูกได้รับคำชมที่จริงใจและมีความหมาย เขาจะค่อยๆ พัฒนาความมั่นใจในตัวเอง กล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออกมากขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต

ขอความเข้าใจให้เด็กพิเศษ

ข่าวเด็กพิเศษถูกเพื่อนแกล้งจนเป็นเรื่องราวที่มีผู้คนพูดถึงจำนวนมาก
ในโลกโซเชียลและทีวีมุมหนึ่งก็สะท้อนให้เห็นว่า
เรายังจำเป็นต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่คนส่วนใหญ่ในการอยู่ร่วมกับเด็กพิเศษให้มากกว่านี้
เด็กในกลุ่มออทิสติกก็เช่นกันส่วนมากก็มีร่างกายปกติเหมือนเด็กทั่วไปนี่แหละ
แต่อาจมีปัญหาด้านการสื่อสาร ภาษา ทักษะสังคมและพฤติกรรมบางอย่างที่ดูแปลกๆ ในสายตาคนปกติ เช่น ไม่ชอบสบตา ไม่ชอบให้ใครมาถูกเนื้อต้องตัวชอบหมุนติ้วๆ แบบลูกข่าง ขี้ตกใจ ร้องเสียงดัง ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้เราควรรู้ไว้ เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้เหมาะสมเวลาต้องอยู่ร่วมกับเด็กออทิสติกหรือเด็กพิเศษ

ความจริงไม่ว่าเด็กปกติหรือเด็กคนไหนก็ต้องการความรักจากคนรอบข้าง ต้องการกำลังใจ
มากกว่าจะจ้องจับผิด ล้อเลียน หรือกลั่นแกล้งกันอยากชวนให้เรามาช่วยกันสร้างโอกาส
และพื้นที่สำหรับเด็กกลุ่มนี้ในสังคมไทยกันอีกเยอะๆ เริ่มกันตั้งแต่วันนี้เลยเนอะ!

 

การสร้างสังคมที่เข้าใจและเป็นมิตรกับเด็กพิเศษควรเริ่มต้นจากครอบครัวและโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ที่เด็กๆ ใช้เวลาอยู่ร่วมกันมากที่สุด ดังนี้:

  1. การให้ความรู้ผ่านสื่อที่เหมาะสม
  • ใช้นิทานสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการยอมรับความแตกต่าง
  • จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สอนให้เด็กเข้าใจว่าทุกคนมีความพิเศษในแบบของตัวเอง
  1. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นมิตร
  • จัดพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็กพิเศษในห้องเรียน
  • ส่งเสริมกิจกรรมที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้
  • ให้คำชมเชยเมื่อเด็กแสดงน้ำใจช่วยเหลือกัน
  1. พัฒนาทักษะการสื่อสาร
  • สอนวิธีการพูดคุยที่เหมาะสมกับเด็กพิเศษ
  • ฝึกการรับฟังและเข้าใจความต้องการที่แตกต่าง
  • ส่งเสริมการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม
  1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือ
  • ประสานงานระหว่างครู ผู้ปกครอง และผู้เชี่ยวชาญ
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์และวิธีการดูแลที่ได้ผล
  • ร่วมกันพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือที่เหมาะสม

การสร้างสังคมที่เข้าใจและเป็นมิตรกับเด็กพิเศษไม่ใช่เรื่องยาก หากทุกคนร่วมมือกัน เริ่มจากการปรับทัศนคติ เปิดใจยอมรับความแตกต่าง และมองว่าความหลากหลายคือความงดงามของสังคม เมื่อนั้นเด็กพิเศษจะสามารถเติบโตและพัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและปลอดภัย

ทำไงดี หนูชอบกรี๊ด

ทำไงดี หนูชอบกรี๊ด

การเลี้ยงดูเด็กเล็กนั้นเป็นงานที่ท้าทายสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกน้อยของคุณเริ่มแสดงพฤติกรรมการกรี๊ด ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 17 เดือนขึ้นไป เสียงกรี๊ดของเด็กนั้นดังและน่ารำคาญ ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนรู้สึกปวดหัวและไม่รู้ว่าจะรับมืออย่างไร บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมดังกล่าว และแนะนำวิธีการจัดการที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณผ่านพ้นช่วงวัยนี้ไปได้อย่างราบรื่น

สาเหตุของพฤติกรรมการกรี๊ดในเด็กเล็ก

  1. การสำรวจความสามารถของตนเอง เด็กในวัยนี้กำลังอยู่ในช่วงของการเรียนรู้และทดลองว่าตนเองสามารถทำอะไรได้บ้าง การกรี๊ด ร้องไห้ หรือตะโกน เป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่เด็กนำมาทดลอง เพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น และคุณพ่อคุณแม่จะตอบสนองอย่างไร
  2. การสื่อสารที่จำกัด เนื่องจากเด็กเล็กยังมีวิธีการสื่อสารที่จำกัด การกรี๊ดหรือตะโกนจึงเป็นหนึ่งในวิธีที่พวกเขาใช้เพื่อแสดงความต้องการ ความรู้สึก หรือความไม่สบายใจ เสียงกรี๊ดเพียงเสียงเดียวอาจแทนคำพูดนับล้านคำที่พวกเขายังไม่สามารถสื่อสารออกมาได้
  3. การเรียกร้องความสนใจ บางครั้ง เด็กอาจใช้การกรี๊ดเพื่อดึงความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขารู้สึกว่าไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร การกรี๊ดเป็นวิธีที่ได้ผลในการทำให้ผู้ใหญ่หันมาสนใจพวกเขาทันที
  4. การแสดงอารมณ์ การกรี๊ดยังเป็นวิธีที่เด็กใช้ในการระบายอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความผิดหวัง หรือความตื่นเต้น เนื่องจากพวกเขายังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีนัก การกรี๊ดจึงเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลในการปลดปล่อยความรู้สึกเหล่านั้นออกมา

ทำไงดี หนูชอบกรี๊ด

แนวทางในการจัดการพฤติกรรมการกรี๊ดของเด็ก

  1. ควบคุมระดับเสียงในบ้าน พยายามหลีกเลี่ยงการเปิดเสียงดังจากทีวี เพลง หรือเสียงอื่น ๆ ในบ้าน เพราะเด็กจะเริ่มคุ้นเคยกับเสียงดัง และอาจทำให้พวกเขากรี๊ดดังขึ้นเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
  2. หลีกเลี่ยงการตะโกนใส่เด็ก เมื่อเด็กกำลังกรี๊ด การตะโกนบอกให้พวกเขาหยุดอาจไม่ได้ผล แถมยังทำให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมการตะโกนของคุณ และกรี๊ดมากขึ้นอีกด้วย
  3. ไม่สนใจเมื่อเด็กกรี๊ดเพื่องอแง หากเด็กกรี๊ดเพื่อเรียกร้องความสนใจหรือเอาแต่ใจ ให้พยายามไม่สนใจ แต่หากเขามีพฤติกรรมที่น่ารัก ให้ใส่ใจและชื่นชมมากขึ้น เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่าการกรี๊ดไม่ใช่วิธีที่ดีในการได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ
  4. เบี่ยงเบนความสนใจ เมื่อเด็กเริ่มกรี๊ด ให้พยายามหากิจกรรมหรือสิ่งของที่ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของพวกเขา เช่น การเปิดเพลงที่พวกเขาชอบ หรือหยิบของเล่นที่มีเสียงมาให้พวกเขาสนใจ
  5. สอนให้เด็กรู้จักควบคุมการใช้เสียง เมื่อเด็กโตขึ้นและเริ่มเข้าใจภาษามากขึ้น ให้เริ่มสอนว่าเสียงแบบใดเหมาะกับสถานที่ใด เช่น การไม่ส่งเสียงดังในห้องสมุด หรือการพูดคุยเบา ๆ ในร้านอาหาร นอกจากนี้ คุณอาจสร้าง “ห้องสำหรับกรี๊ด” ในบ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เด็ก ๆ สามารถระบายอารมณ์ด้วยการกรี๊ดได้อย่างเต็มที่ วิธีนี้จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะควบคุมการใช้เสียงของตนเองในสถานการณ์ต่าง ๆ
  6. ให้กำลังใจและความเข้าใจ การเลี้ยงดูเด็กเล็กเป็นเรื่องท้าทาย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และเข้าใจว่าพฤติกรรมการกรี๊ดของเด็กเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการตามวัย ซึ่งจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้วิธีการสื่อสารและควบคุมอารมณ์ที่ดีขึ้น
  7. พาเด็กออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นวิธีที่ดีในการช่วยให้เด็กระบายพลังงานส่วนเกิน ซึ่งจะช่วยลดพฤติกรรมการกรี๊ดลงได้ นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของเด็กอีกด้วย
  8. จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม สร้างสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและปลอดภัยให้กับเด็ก จัดพื้นที่ในบ้านให้เป็นระเบียบ และกำจัดสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็ก ๆ เพื่อลดความเครียดและความวิตกกังวลที่อาจส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมการกรี๊ดมากขึ้น

บทสรุป พฤติกรรมการกรี๊ดในเด็กเล็กเป็นเรื่องปกติตามช่วงวัย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสำรวจความสามารถของตนเอง การสื่อสารที่จำกัด การเรียกร้องความสนใจ และการแสดงอารมณ์ คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยจัดการพฤติกรรมเหล่านี้ได้ด้วยการควบคุมระดับเสียงในบ้าน หลีกเลี่ยงการตะโกน ไม่สนใจเมื่อเด็กกรี๊ดเพื่องอแง เบี่ยงเบนความสนใจ สอนให้เด็กรู้จักควบคุมการใช้เสียง ให้กำลังใจและความเข้าใจ พาเด็กออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง และจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ด้วยความรักและความเข้าใจจากคุณพ่อคุณแม่ ลูกน้อยของคุณจะสามารถผ่านพ้นช่วงวัยนี้ไปได้อย่างราบรื่น และเติบโตเป็นเด็กที่มีพัฒนาการสมวัย

 

10 Q&A ยอดนิยมที่ New parents มักมีปํญหา และถามบ่อยๆ เมื่อลูกกริ๊ดด

  1. Q: ทำไมลูกถึงชอบกรี๊ดบ่อยๆ?
    A: เด็กเล็กมักกรี๊ดเพราะเป็นวิธีระบายอารมณ์ สำรวจเสียง เรียกร้องความสนใจ หรือสื่อสารความต้องการ เนื่องจากยังพูดไม่ได้ การกรี๊ดจึงเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงออกที่ง่ายที่สุดสำหรับพวกเขา 
  2. Q: ลูกชอบกรี๊ดเวลาอยู่ข้างนอก จะทำอย่างไรดี?
    A: พยายามเบี่ยงเบนความสนใจลูก ด้วยการชี้ชวนให้สนใจสิ่งอื่น เช่น ต้นไม้ นก ฯลฯ หรือพาเดินเล่นเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ ถ้าเป็นเวลาที่ลูกอาจง่วง หิว ให้รีบพากลับมาจัดการความต้องการพื้นฐานก่อน
     
  3. Q: ลูกไม่ยอมหยุดกรี๊ดในที่สาธารณะ ทำอย่างไรดี?
    A: พยายามรักษาความใจเย็น อุ้มลูกออกมาจากที่ชุลมุน หาพื้นที่เงียบสงบให้ลูกสงบอารมณ์ ถ้าลูกกรี๊ดไม่หยุด ให้พาลูกกลับบ้านแล้วค่อยจัดการต่อที่บ้าน อย่าใจร้อนหรือแสดงความโกรธใส่ลูก
     
  4. Q: จะสอนให้ลูกเลิกกรี๊ดได้อย่างไร?
    A: เมื่อลูกพูดได้มากขึ้น ให้สอนให้ลูกใช้คำพูดแทนการกรี๊ด เช่น “ผมโกรธ” “หนูเสียใจ” ฯลฯ ชื่นชมเมื่อลูกสื่อสารด้วยคำพูดแทนการกรี๊ด อย่าตอบสนองในทางลบเวลาลูกกรี๊ด แต่ตอบสนองในทางบวกเวลาเขาไม่กรี๊ดมากกว่า
     
  5. Q: การปล่อยให้ลูกกรี๊ดไปเรื่อยๆ จะเป็นอะไรไหม?
    A: ไม่เป็นไร เด็กเล็กกรี๊ดเป็นเรื่องปกติ ถ้าพ่อแม่รู้สาเหตุและจัดการได้อย่างใจเย็น พฤติกรรมนี้จะค่อยๆ หายไปเมื่อลูกโตขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรสอนให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์และใช้คำพูดมากขึ้นเมื่อเขาทำได้
     
  6. Q: ลูกชอบกรี๊ดเวลาโกรธ จะรับมืออย่างไร?
    A: ในเวลาปกติ ฝึกให้ลูกรู้จักอารมณ์ตนเอง โดยบอกชื่ออารมณ์ให้เขาฟัง เช่น โกรธ เสียใจ ดีใจ ฯลฯ เมื่อลูกกำลังโกรธและกรี๊ด ให้ใจเย็นๆ บอกเขาว่า “หนูกำลังโกรธใช่ไหม ไม่เป็นไร แต่เรามาลองหายใจเข้าลึกๆ แล้วบอกว่าโกรธทำไมกันนะ”
     
  7. Q: ลูกมักจะกรี๊ดเวลาไม่ได้ดั่งใจ ควรทำอย่างไร?
    A: อย่าใจอ่อนยอมให้ทุกครั้งที่ลูกกรี๊ด เพราะจะสอนให้ลูกเรียนรู้ว่ากรี๊ดแล้วจะได้อย่างใจ ให้ใจเย็น ยืนกราน แต่พูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล ถ้าลูกกรี๊ดหนักขึ้น ก็ทำเฉยๆ ไม่สนใจ จนกว่าจะสงบแล้วค่อยคุยกัน
     
  8. Q: เปิดเพลงดังๆ เวลาลูกกรี๊ด จะช่วยได้ไหม?
    A: ในระยะสั้นอาจได้ผล เพราะลูกจะสนใจเสียงเพลงแทน แต่ถ้าทำบ่อยๆ อาจทำให้ลูกชินกับเสียงดัง และอาจกลายเป็นช่องทางให้ลูกใช้กรี๊ดเรียกร้องเพลงได้ แนะนำให้ใช้วิธีอื่น เช่น การกอด การเบี่ยงเบนความสนใจ ฯลฯ
     
  9. Q: หากลูกกรี๊ดแล้วหยุดเอง ควรปล่อยไหม?
    A: ควรปล่อยให้ลูกกรี๊ดระบายไปจนกว่าจะหยุด เมื่อลูกหยุด ให้ชมเชยทันที เช่น “หนูทำได้ดีมากเลยที่สงบลงได้ด้วยตัวเอง” การชมช่วยเสริมให้ลูกเรียนรู้วิธีการควบคุมตนเอง
     
  10. Q: กังวลว่าลูกจะกรี๊ดเรื้อรัง ต้องทำอย่างไร?
    A: การกรี๊ดเป็นพฤติกรรมปกติของเด็กวัยนี้ เมื่อลูกค่อยๆ พูด สื่อสาร และควบคุมอารมณ์ได้มากขึ้น การกรี๊ดจะลดน้อยลง แต่หากลูกอายุเกิน 3-4 ปีแล้วยังกรี๊ดบ่อยมาก หรือมีปัญหาพัฒนาการด้านอื่นร่วมด้วย ควรปรึกษากุมารแพทย์